หน้าเว็บ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม


วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

อังกาบ ต้อยติ่ง

ทั้งต้นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ เบาหวาน ลดไข้ ยาแก้ปวด ลดการปวด ดับร้อนในกระหายน้ำ และใช้ล้างพิษ

นำใบอังกาบ (เลือกใบแก่ๆ) ประมาณ 2-3ใบ นำมาล้างน้ำให้สะอาด
เคี้ยวใบอังกาบให้ละเอียดไว้ภายในปากประมาณ 30วินาที กลืนใบอังกาบ
หลังจากนั้นประมาณ 1นาที
กรณี มีเชื้อมะเร็ง ลิ้นจะเป็นสีม่วง ดำ ติดลิ้น ไปประมาณ 3-4วัน
กรณี .ในรายปกติ ลิ้นจะมีสีเขียวของใบไม้ และจะจางหายไป ไม่อยู่ติด3-4วัน
****เป็นเพียงการตรวจหาเชื้อมะเร็งเบื้องต้นด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านเท่านั้น เพื่อความมั่นใจควรไปตรวจจากโรงพยาบาลเพื่อยืนยังผลอีกครั้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria cristata Linn.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่นๆ : ก้านชั่ง ลืมเฒ่าใหญ่ อังกาบกานพลู อังกาบเมือง ทองระอา คันชั่ง
ลักษณะ :
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร กิ่งก้านและใบมีขนสีเหลืองอ่อน ใบออกตรงข้ามเป็นคู่ๆ ใบรูปไข่แกมรี กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4.5-8 ซม. มีขนทั้งสองด้าน โดยเฉพาะตามเส้นใบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 0.3-1.3 ซม. ดอกออกเป็นช่อ ค่อนข้างแน่นที่ปลายยอด หรือบริเวณใกล้ปลายยอด สีฟ้าอมม่วงหรือแกมชมพู ที่โคนช่อดอกมีใบประดับรูปขอบขนานยาว ขอบใบเว้า ปลายเป็นหนามแหลมยาว ดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-4 ซม. ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบล่างจะใหญ่กว่า 4 กลีบบน ยาวประมาณ 1 ซม. ด้านนอกมีขน เกสรผู้ 4 อัน สั้น 2 ยาว 2 ผลเป็นฝักรูปยาวรี ปลายและโคนแหลม ส่วนปลายกว้างกว่าส่วนโคน เมล็ดมี 4 เมล็ด
สรรพคุณ :
ใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพรช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยเจริญธาตุไฟ
รากหรือใบ ใช้เป็นยาลดไข้ (ราก,ใบ)ช่วยแก้หวัด ด้วยการนำใบมาคั้นกิน
ใบอังกาบหนู ใช่เคี้ยวแก้อาการปวดฟัน ใบป้องกันและแก้อาการท้องผูก มีคนเคยใช้อังกาบเพื่อเยียวยารักษาโรคมะเร็ง เนื้องอกในสมอง และเบาหวาน แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลไหนที่ยืนยันว่ามันสามารถช่วยหรือมีส่วนรักษาได้จริง สารสกัดจากรากอังกาบหนู มีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด โดยมีการทดลองในหนูเพศผู้นานติดต่อกัน 60 วัน พบว่าสามารถคุมกำเนิดได้ 100% เนื่องจากสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ในการรบกวนการสร้างสเปิร์ม ลดจำนวนสเปิร์ม และทำให้การเคลื่อนไหวของสเปิร์มลดลง โดยสารสกัดจากอังกาบหนูนั้นส่งผลต่อการสร้างสเปิร์ม ทำให้โครงสร้างและหน้าที่ของสเปิร์มผิดปกติไป
(โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)
เป็นความรู้จากหมอชาวบ้านที่บอกต่อสืบทอดกันมา

........................................
อังกาบดอกเหลือง 
ชื่ออื่น อังกาบหนู, เขี้ยวเนื้อ, เขี้ยวแก้ง (ภาคกลาง), อังกาบ (นครศรีธรรมราช) มันไก่ (ภาคเหนือ) 
อังกาบดั้งเดิมของไทยดอกมีสีเหลือง ส่วนที่มาจากเมืองนอกนั้นดอกสีเขียว (ม่วง) ซึ่งอังกาบดอกสีเหลืองนั้นปัจจุบันมีชื่อเรียกว่า อังกาบหนู (Barleria prionitis Linn.) ลำต้นมีหนามแหลม 

ส่วนอังกาบที่มาจากต่างประเทศนั้น ตามหลักฐานระบุว่ามาจากประเทศอินเดีย มีดอกสีม่วงหรือขาว ลำต้นไม่มีหนาม ซึ่งก็คือ อังกาบที่นิยมปลูกกัน ในปัจจุบันนั่นเอง มีชื่อเรียกอื่นๆ คือ ทองระย้า (กทม.) คันชั่ง (ตาก) ก้านชั่ง (ภาคเหนือ) 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria prionitis Linn. 
ชื่อวงศ์ Acanthaceae วงศ์เดียวกันกับต้อยติ่ง 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
- เป็นไม้พุ่ม สูงถึง 1.5 ม. 
- ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปไข่ปลายแหลม ยาว 2-17 ซม. กว้าง 0.5-6 ซม. ตามซอกใบจะมีหนามแหลม 3-5 อัน 
- ดอกออกเดี่ยวๆ ส่วนตอนปลายยอดจะออกเป็นช่อ กลีบดอกสีเหลืองสด ยาว 2-5 ซม. - ผลกลมแบน ปลายแหลม แข็ง ขนาด 1-2 ซม. ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด 

สภาพแวดล้อม: ขึ้นได้ดีในที่แล้ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ 
..................................
อังกาบ มีด้วยกัน 3 สี คือ ชนิดดอกสีขาว ดอกสีเหลือง และ ดอกสีม่วง ซึ่งชนิดดอกสีม่วงมีถิ่นกำเนิดจาก จีน และ อินเดีย ส่วนชนิดดอกสีขาวกับดอกสีเหลืองพบขึ้นตามป่าราบและที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไปในประเทศไทย สมัยก่อน อังกาบดอกขาวและอังกาบดอกเหลืองนิยมปลูกเป็นไม้ประดับเลาะตามแนวรั้วบ้านรั้วโรงเรียนอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันอังกาบดอกขาว และอังกาบดอกเหลืองหายากมาก ส่วนใหญ่ที่พบมีต้นวางขายจะเป็นอังกาบชนิดดอกสีม่วงของประเทศจีนและอินเดีย 
.
อังกาบทั้ง 3 สี มีสรรพคุณทางสมุนไพรเหมือนกัน คือ ราก ของ “อังกาบดอกสีม่วง” มีรสเฝื่อน ต้มน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ ฟอกโลหิตระดูในสตรี ส่วนรากของ “อังกาบดอกขาว” และ“อังกาบดอกเหลือง” มีรสหวาน ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้เสมหะ และช่วยเจริญไฟธาตุดีมาก 
.....................................

สรรพคุณของอังกาบหนู

  1. ดอกอังกาบนำมาตากแห้งใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยเจริญธาตุไฟได้ดีมาก (ราก, ดอก)
  2. รากหรือใบใช้เป็นยาลดไข้ (ราก, ใบ) ช่วยแก้หวัดด้วยการนำใบมาคั้นกิน (ใบ)
  3. ช่วยขับเสมหะด้วยการใช้รากของดอกอังกาบสีเหลืองที่ตากแห้งแล้วนำมาต้มเป็นยาดื่ม (ราก)
  4. ใบอังกาบหนูใช้เคี้ยวแก้อาการปวดฟันได้ (ใบ)
  5. ใบใช้ผสมกับน้ำผึ้งช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ใบ)
  6. น้ำคั้นจากใบใช้หยอดหู แก้หูอักเสบได้ (ใบ)
  7. ช่วยป้องกันและแก้อาการท้องผูก (ใบ)
  8. ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (ราก)
  9. ใช้แก้พิษงู (ใบ)
  10. ช่วยรักษาโรคคัน (ใบ)
  11. รากหรือใบใช้ผสมกับน้ำมะนาวช่วยรักษากลากเกลื้อน (ใบ, ราก)
  12. รากใช้เป็นยาแก้ฝี (ราก)
  13. ทั้ง 5 ส่วนของต้นอังกาบหนูใช้เป็นยาแก้ไข้ข้ออักเสบ (ทั้ง 5 ส่วน)
  14. ช่วยแก้อัมพาต รักษาโรคปวดตามข้อ โรครูมาติซั่ม หรือใช้ทาแก้อาการปวดหลัง แก้ปวดบวม (ใบ)
  15. มีคนเคยใช้อังกาบเพื่อเยียวยารักษาโรคมะเร็ง เนื้องอกในสมอง และเบาหวาน แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลไหนที่ยืนยันว่ามันสามารถช่วยหรือมีส่วนรักษาได้จริง (ราก)
  16. สารสกัดจากรากอังกาบหนูมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด โดยมีการทดลองในหนูเพศผู้นานติดต่อกัน 60 วัน พบว่าสามารถคุมกำเนิดได้ 100% เนื่องจากสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ในการรบกวนการสร้างสเปิร์ม ลดจำนวนสเปิร์ม และทำให้การเคลื่อนไหวของสเปิร์มลดลง โดยสารสกัดจากอังกาบหนูนั้นส่งผลต่อการสร้างสเปิร์ม ทำให้โครงสร้างและหน้าที่ของสเปิร์มผิดปกติไป (ราก)

ประโยชน์ของอังกาบหนู

  • น้ำคั้นจากใบสามารถใช้ทาแก้ส้นเท้าแตกได้ (ใบ)
  • ประโยชน์ของอังกาบดอกเหลือง โดยทั่วไปแล้วจะนิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับสวน เนื่องจากมีดอกที่สวยงาม แต่ในปัจจุบันอังกาบดอกเหลืองนั้นหายากมาก เท่าที่เคยเห็นมาก็มีแต่สวนนงนุชพัทยา แต่ก็นานแล้วนะครับ หรือถ้ามีที่ไหนช่วยแนะนำด้วยนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น