หน้าเว็บ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม


วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ลูกใต้ใบ





"ลูกใต้ใบ" ซึ่งมีผลช่วยบำรุงตับ ลดอาการตับอักเสบ และมีสรรพคุณทางยาอื่นๆ มากมายไว้ในหนังสือบันทึกของแผ่นดิน เป็นสมุนไพรที่แพร่กระจายอยู่ในหลายๆ ประเทศ เช่น บราซิล เปรู หมู่เกาะแคริบเบียน สหรัฐอเมริกา อินเดีย ไทย ลาว พม่า เขมร  หมอยาจะมีการใช้ลูกใต้ใบเหมือนๆ กัน คือ ใช้เป็นยาแก้นิ่ว แก้โรคตับ แก้ปวดเมื่อย แก้เบาหวาน



สรรพคุณที่เกี่ยวกับตับของลูกใต้ใบ คือ ใช้บำรุงตับ ลดอาการตับอักเสบ สร้างความสมดุลของไขมันในตับ หมอยาชาวจีนเชื่อว่า ถ้ากินลูกใต้ใบติดต่อกันหนึ่งสัปดาห์จะช่วยกำจัดพิษออกจากตับ มีผลทำให้สายตาดี บำรุงตับ รักษาอาการดีซ่าน ซึ่งก็คล้ายกับหมอยาพื้นบ้านไทยและหมออายุรเวทอินเดีย ที่มีความเชื่อว่า ลูกใต้ใบเกิดมาเพื่อตับ ใช้ต้มกินเป็นยาเพื่อแก้ดีซ่าน แก้ตับอักเสบตัวเหลือง ตาเหลือง ซึ่งมีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่าสารสกัดจากลูกใต้ใบมีฤทธิ์ป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษ เช่น เหล้า ช่วยรักษาอาการอักเสบของตับทั้งประเภทเฉียบพลันและเรื้อรัง ช่วยปรับไขมันในตับให้เป็นปกติ และเหมาะที่จะใช้ทำเป็นชาสมุนไพรให้แก่คนไข้ที่เป็นมะเร็งตับ เพราะมีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่า น้ำต้มของลูกใต้ใบทำให้หนูที่เป็นมะเร็งตับมีอายุยืนยาวขึ้น ด้วยกลไกที่ทำให้เซลล์มะเร็งเติบโตช้าลง แต่ไม่ได้ฆ่าเซลล์มะเร็งโดยตรง



นอกจากนี้ ลูกใต้ใบยังมีอีกหลายสรรพคุณแก้โรค ชาวบ้านในหลายพื้นที่นิยมตากลูกใต้ใบให้แห้ง เก็บใส่โหลไว้ชงเป็นชากินเพื่อแก้ไข้ แก้อักเสบ แก้ปวดเมื่อย



ลูกใต้ใบ ยังเป็นสมุนไพรยอดนิยมของผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้ โดยมีการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาพบว่า สารสกัดของลูกใต้ใบมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ต้องรับประทานยาแผนปัจจุบันตามคำสั่งแพทย์ และมีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ



สรรพคุณของลูกใต้ใบอีกประการหนึ่งคือ เป็นสมุนไพรที่จัดว่ามีการใช้กับระบบทางเดินปัสสาวะมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยมีการนำไปใช้รักษาอาการมีไข่ขาวในปัสสาวะ อาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ใช้ในการขับปัสสาวะ ลดอาการบวม และขับกรดยูริคออกทางปัสสาวะ ซึ่งช่วยในผู้ที่เป็นโรคเกาต์



สรรพคุณที่โดดเด่นที่สุดของลูกใต้ใบ อ้างอิงจากงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ว่าด้วยเรื่องสรรพคุณและการทดลองของลูกใต้ใบพบว่าลูกใต้ใบมีผลทางบวกต่อกระบวนการยับยั้งไวรัสและชีวเคมีของตับ เมื่อมีการติดเชื้อ HBV เรื้อรัง อย่างไรก็ตามอนาคตยังคงต้องวิจัยค้นคว้าต่อไป เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น (Liu, Lin & McIntosh, 2011)



การใช้ส่วนผสมของลูกใต้ใบ พบว่า มีผลต่อ ไวรัสตับอักเสบ บี ทําให้เกิดการฟื้นตัวของการทําหน้าที่ของตับและเป็นคําตอบสําหรับการยับยั้ง HBV (Xin-Hua, Chang-Qing, Xing-Bo & Lin-Chun, 2001) มีรายงานการศึกษาวิจัยฤทธิ์ต้านไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus, HBV) ของสารสกัดของ P. amarus ในห้องปฏิบัติการ และมีการศึกษาวิจัยต่อเนื่องถึงกลไกการออกฤทธิ์ ซึ่งพบว่ามีได้หลาย กลไกการออกฤทธิ์ เช่น การยับยั้ง HBV DNA polymerase ยับยั้ง HBV mRNA transcription & replication เป็นต้น (Ott, Thyagarajan & Gupta, 1997) ลูกใต้ใบสามารถยับยั้ง ไวรัสตับอักเสบได้ (Lee, Ott, Thyagarajan, Shafritz, Burk & Gupta, 1996)

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562

“รากตำลึง”..ฉายา “ไวอากร้าเมืองไทย” และ “โสมไทย”




“รากตำลึง”..ฉายา “ไวอากร้าเมืองไทย” และ “โสมไทย”
ราคาแบบแห้ง 350 บาท/400กรัม
 โทร+ไลน์ 0809898770
“รากตำลึง”..ฉายา “ไวอากร้าเมืองไทย” และ “โสมไทย” สรรพคุณบำรุงสายตา แก้ปวดเอว และเสริมสมรรถภาพทางเพศ
รากตำลึง บำรุงสายตา แก้ปวดเอว ปรับฮอร์โมน เพศหญิงบำรุงมดลูกและรังไข่ ผู้ที่มีบุตรยาก จะมีง่ายขึ้น เพศชายเสริมสมรรถภาพทางเพศ ฉายา “ไวอากร้าเมืองไทย” และ “โสมไทย” เพศหญิง ดื่มวันละเป็คก่อนอาหารเช้า เพศชายดื่ม 2 เป็ค ก่อนอาหารเช้า-เย็น
 สรรพคุณของตำลึง ช่วยแก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา รักษาหลอดลมอักเสบ รักษาเบาหวาน แก้แมงสัตว์กัดต่อย ช่วยบำรุงกระดูก บำรุงฟัน ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเลือด ใช้ลดไข้ รักษาแผล รักษาหิด
สรรพคุณทางตัวยานั้นดิฉันและสามีลองทานมาด้วยตัวเองแล้วเห็นอาการใด้ชัดเจนมากจึงนำมาแบ่งปันค่ะ
1.บำรุงสายตา
2.แก้ปวดหลังเจ็บเอว
3.รักษาและกระชับมดลูกในสตรี
4.แก้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมสำหรับคุณผู้ชาย
5.ปรับอารมณ์ทางร่างกายและจิตใจให้สม่ำเสมอไม่หงุดหงิดง่าย
– รากของตำลึง นำมาใช้ ลดไข้ แก้อาเจียน ลดความอ้วน แก้ฝี แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย
– เถาของตำลึง นำมาชงกับน้ำดื่มแก้อาการวิงเวียนศรีษะ นำมาบดใช้พอกผิวหนังแก้โรคผิวหนัง เถาของตำลึงมีสรรพคุณ ลดระดับน้ำตาลในเลือด นำตำลึงทั้งต้น มาใช้ทั้ง ราก ใบและเถา นิยมนำมาเป็นยารักษาแก้โรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หลอดลมอักเสบ กำจัดกลิ่นตัว
ณแหล่งที่มา : longlongdo.



วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2562

กระชายดำ บรรจุแคปซูล

ปลุกพลังแห่งความเป็นชาย
แอดไลน์ 0918712395 หรือ ข้อความ
80 แคปซูล 490 บาท
#กระชายดำ80 บรรจุแคปซูล
มีสมุนไพร 2 ชนิดใน1แคปซูล


 กระชายดำ (Kaempferia parviflora Wall. ex Baker) เป็นพืชในวงศ์เดียวกับ กระชาย ข่า ขิง และขมิ้น (Zingiberaceae) มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ black ginger เนื่องมีลักษณะเหง้าคล้ายขิง แต่เนื้อในมีสีออกม่วงดำ ในประเทศไทยมักพบขึ้นตามธรรมชาติบนภูเขา ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 630 เมตร หรือมากกว่า (1) ปัจจุบันมีการปลูกทั่วทุกภูมิภาคของไทย ซึ่งแหล่งปลูกที่สำคัญส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เชียงใหม่ และเชียงราย สายพันธุ์ของกระชายดำสามารถจำแนกโดยพิจารณาจากสีของเนื้อในเหง้าได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ สายพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีม่วง ม่วงเข้ม จนถึงม่วงดำ และสายพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง เนื่องจากมีความเชื่อว่าสีของเนื้อในเหง้าเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของกระชายดำ ในทางการค้าจึงมักนิยมกระชายดำมีเนื้อในเหง้าสีม่วงเข้ม ซึ่งเชื่อว่ามีคุณภาพดีและมีราคาสูงกว่ากระชายดำที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง

สารสำคัญที่พบในเหง้ากระชายดำ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย สารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) กลุ่มฟลาโวน (flavones) เช่น 5,7-dimethoxyflavone, 5,7,4-trimethoxyflavone, 5,7,3,4-tetramethoxyflavone และ 3,5,7,3,4-pentamethoxyflavone กลุ่มสารแอนโทไซยานิน (anthocyanins) (10) และสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) อื่นๆ ส่วนใหญ่แล้วพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีเข้ม จะมีปริมาณสารฟีนอลิกรวมและสารฟลาโวนอยด์สูงกว่าพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง ส่วนพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง จะมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าพันธุ์ที่มีสีเข้ม

ในตำรายาไทยกล่าวถึงสรรพคุณของกระชายดำไว้ว่าเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกาม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รูปแบบของการใช้แบบพื้นบ้าน จะนำมาทำเป็นยาลูกกลอน โดยเอาผงแห้งมาผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน หรือทำเป็นยาดองเหล้าและดองน้ำผึ้ง (1) จากรายงานการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของกระชายดำพบว่า มีฤทธิ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ ฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร ฤทธิ์ต่อภูมิคุ้มกัน และฤทธิ์ต่อไขมันและน้ำตาลในเลือด

สำหรับการศึกษาวิจัยฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ของกระชายดำในสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดเอทานอลจากเหง้ามีผลทำให้พฤติกรรมทางเพศของสัตว์ทดลองดีขึ้น และมีผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์โดยเพิ่มน้ำหนักของท่อพักเชื้ออสุจิ ถุงน้ำอสุจิ ต่อมลูกหมาก และกล้ามเนื้อก้นของหนู นอกจากนี้ยังเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังระบบสืบพันธุ์และกล้ามเนื้อลายของหนูแรทเพศผู้ และอวัยวะเพศของสุนัข ยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบองคชาต (carvernosum) ของหนูแรท และกล้ามเนื้อเรียบอวัยวะเพศชายของคน ที่ได้จากการผ่าตัดแปลงเพศ ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อคลายตัว เลือดจึงไหลเวียนเข้าสู่อวัยวะเพศได้ดี ทำให้อวัยวะเพศเกิดการแข็งตัว สารสกัดเอทานอล และสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ phosphodiesterase ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดคลายตัวและขยาย เลือดจึงไหลเวียนเข้าสู่อวัยวะเพศได้ดี

การศึกษาในอาสาสมัครเพศชายที่มีสุขภาพดี อายุเฉลี่ย 65.05±3.5 ปี ที่รับประทานแคปซูลสารสกัด เอทานอลจากกระชายดำ ขนาด 25 และ 90 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าสารสกัด ขนาด 90 มิลลิกรัมต่อวัน มีผลเพิ่มการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางเพศ (erotic stimuli) ของอาสาสมัครได้ โดยเพิ่มขนาดและความยาวขององคชาติ ลดระยะเวลาในการหลั่งน้ำกาม และเพิ่มความพึงพอใจต่อการแข็งตัว (erection satisfaction) และผลยังคงอยู่จนถึง 2 เดือนที่ได้รับสารสกัดอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อหยุดให้สารสกัดก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่แคปซูลกระชายดำไม่มีผลต่อระดับของฮอร์โมน testosterone, FSH, LH, cortisol และ prolactin

จากรายงานการศึกษาวิจัยแสดงว่า กระชายดำมีผลเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของสัตว์ทดลองได้ โดยมีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะเพศคลายตัว ส่งผลให้เกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศของสัตว์ทดลอง ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาสนับสนุนสรรพคุณพื้นบ้านของกระชายดำในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระชายดําไม่ได้เป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศ แต่ช่วยทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ง่าย และบ่อยขึ้น มีระยะเวลาในการแข็งตัวที่นานขึ้น สำหรับข้อมูลการศึกษาในคนแม้ว่าจะมีผล แต่การศึกษายังมีน้อย จึงยังไม่มีคำแนะนำเรื่องขนาดที่เหมาะสมและข้อมูลเรื่องความปลอดภัยเมื่อต้องใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน แม้จะยังไม่มีข้อห้ามหรือข้อควรระวังการใช้กระชายดำ แต่มีรายงานในสัตว์ทดลองที่ระบุว่า การให้กระชายดำในขนาดสูง หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้ตับเกิดความผิดปกติได้ ดังนั้นผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับจึงควรหลีกเลี่ยง และในคนทั่วไปก็ไม่ควรใช้ในขนาดสูงหรือติดต่อกันเป็นเวลานานเช่นกัน นอกจากนี้ไม่ควรใช้ในเด็กหรือสตรีมีครรภ์ เนื่องจากยังขาดข้อมูลด้านความปลอดภัยในการใช้ และควรระวังการเกิดอันตรกิริยากับยาแผนปัจจุบัน เช่น ยา sildenafil (ยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ) เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยามากขึ้น ซึ่งหากสนใจและอยากลองใช้ แนะนำให้ใช้ในรูปแบบของการใช้แบบพื้นบ้านซึ่งมีการใช้กันมานานแล้ว



ขิงดำกับกระชายดำ เป็นพืชคนละชนิดกัน แต่อยู่ในวงศ์เดียวกัน อาจเนื่องจากคำเรียกภาษาอังกฤษของกระชายดำ คือ black ginger (เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับขิงมากกว่ากระชาย) จึงทำให้สับสนว่าเป็นขิงดำได้ จากหนังสือพืชเครื่องเทศและพืชสมุนไพร ที่เขียนเกี่ยวกับพันธุ์ขิงไทย บอกว่าขิงเล็กหรือขิงเผ็ด มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ขิงดำ ซึ่งมีลักษณะเป็นแง่งเล็ก สั้น ข้อถี่ เนื้อมีเสี้ยนมาก และรสค่อนข้างเผ็ด เมื่อลอกเปลือกออกแล้วมีสีน้ำเงินหรือน้ำเงินปนเขียว ตาบนแง่งมีลักษณะแหลม ปลายใบแหลม การแตกกอดี นิยมใช้ทำยาสมุนไพรและทำขิงแห้ง เพราะให้น้ำหนักดีกว่าขิงใหญ่หรือขิงหยวก แต่ไม่นิยมปลูกขายในลักษณะขิงอ่อน


การศึกษาผลของกระชายดำในอาสาสมัครเพศชายที่มีสุขภาพดี อายุเฉลี่ย 65.05±3.5 ปี จำนวน 45 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับแคปซูลสารสกัดเอทานอลจากกระชายดำ ขนาด 25 และ 90 มก./วัน และกลุ่มควบคุมที่ให้แคปซูลยาหลอก เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าสารสกัดขนาด 90 มก./วัน มีผลเพิ่มการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางเพศ (erotic stimuli) ของอาสาสมัครได้ โดยเพิ่มขนาดและความยาวขององคชาติ ลดระยะเวลาในการหลั่งน้ำกาม และเพิ่มความพึงพอใจต่อการแข็งตัว (erection satisfaction)และผลยังคงอยู่จนถึง 2 เดือนที่ได้รับสารสกัดอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อหยุดให้สารสกัดก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ การศึกษานี้ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน



 - สรรพคุณตามตำรายาไทยระบุว่า กระชายดำเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกาม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
- การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า กระชายดำมีฤทธิ์เชื้อจุลชีพ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ ฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร ฤทธิ์ต่อภูมิคุ้มกัน และฤทธิ์ต่อไขมันและน้ำตาลในเลือด

 มีข้อมูลงานวิจัยระบุว่า สมุนไพรกระชายดำมีผลเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของสัตว์ทดลองได้ โดยมีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะเพศคลายตัว ส่งผลให้เกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศของสัตว์ทดลอง ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาสนับสนุนสรรพคุณพื้นบ้านของกระชายดำในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระชายดําไม่ได้เป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศ แต่ช่วยทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ง่าย และบ่อยขึ้น มีระยะเวลาในการแข็งตัวที่นานขึ้น

คนทั่วไปก็ไม่ควรใช้ในขนาดสูงหรือติดต่อกันเป็นเวลานานเช่นกัน นอกจากนี้ไม่ควรใช้ในเด็กหรือสตรีมีครรภ์



กระชายดำ : น้ำมันหอมระเหย สารกลุ่มฟลาโวน (flavones) เช่น 5,7-dimethoxyflavone, 5,7,4-trimethoxyflavone, 5,7,3,4-tetramethoxyflavone และ 3,5,7,3,4-pentamethoxyflavone กลุ่มสารแอนโทไซยานิน (anthocyanins) และสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds)


วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ผงกล้วยน้ำว้าดิบ



ป้องกันและบรรเทาอาการกรดไหลย้อย โรคกระเพาะ

ผงกล้วยดิบแนะนำชงกับน้ำอุ่นนะ​ มีกลิ่นหอมกล้วยอ่อนๆ​
#วิธีการชง ชงผงกล้วย 1 ช้อนโต๊ะ/น้ำอุ่น 1 แก้ว ทานก่อนอาหาร เช้า กลางวัน เย็น

กระเพาะอาหารแข็งเเรงขึ้น
สมานเเผลในกระเพาะอาหาร
บรรเทาเเละป้องกันโรคกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน

กล้วยดิบ นั้นมี แทนนิน สารฝาดสมานสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ดี จึงช่วยป้องกันผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่ให้เชื้อโรคและของรสเผ็ดจัด เช่น พริก เข้าไปทำลายผนังเนื้อเยื่อกระเพาะลำไส้ ช่วยแก้ท้องเสียได้ดี

เราใช้อุณหภูมิไม่เกิน 50 องศา เพื่อรักษา สารในกล้วยที่มีฤทธิ์รักษาโรคกระเพาะนั้นไม่ให้หมดฤทธิ์ ในการรักษา(เราเน้นมาก)

ราคา ผงกล้วยน้ำว้าดิบ 1กิโลกรัม 300 บาท ส่งฟรี
ราคา 200 เม็ด 370 บาท ส่งฟรีเก็บปลายทางโทรหาเรา ไลน์หาเรา 0809898770
0809898770 โทร+ไลน์
#เราเป็นสวนกล้วยเองทำสดๆไม่มีเหม็นอับแบบโรงงาน


วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ทำไม มะเขือพวงรักษาโรค เบาหวาน ความดัน ไต มะเร็งได้



 ราคา 100 ซอง 490 บาท 
ขนาด 25 ซอง 99 บาท ค่าจัดส่งโอนเงิน 35 บาท
(โทร+ไลน์ 0809898770)

มะเขือพวงกับเพ็กทิน

  • งานวิจัยพบว่า มะเขือพวงมีสารเส้นใยละลายน้ำได้ที่เรียกว่า เพ็กทิน (pectin) ซึ่งเป็นสารที่พบในผนังเซลล์ของพืช ผัก และผลไม้ต่างๆ  เมื่อผ่านการกินเพ็กทินจะเปลี่ยนรูปเป็นวุ้นไปเคลือบผิวลำไส้ และช่วยเพิ่มความหนืดของอาหาร ทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ช้า ลำไส้จึงดูดซึมแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้วได้ช้าลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อนข้างคงที่ การดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหารหรือน้ำดีลดลง และเกิดการสร้างน้ำดีขึ้นมาทดแทน

  • นอกจากนี้ พบว่าเพ็กทินมีคุณสมบัติดูดซับไขมันส่วนเกินจากอาหาร ลดการดูดซึมอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเข้าสู่ร่างกาย สารเส้นใยนี้ยังสามารถดึงน้ำไว้ได้เป็นจำนวนมาก จึงช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ และกระตุ้นให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติ ที่ลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารย่อยเพ็กทินให้กรดไขมันขนาดเล็กซึ่งเป็นประโยชน์กับร่างกาย



  • การศึกษาปริมาณเพ็กทินในมะเขือ ๓ ชนิด ได้แก่ มะเขือยาว มะเขือเปราะ และมะเขือพวง พบว่ามะเขือพวงมีปริมาณเพ็กทินสูงสุด มะเขือยาวมีปริมาณเพ็กทินน้อยกว่ามะเขือพวง ๓ เท่า และมะเขือเปราะมีน้อยกว่า ๖๕ เท่า จึงอาจกล่าวได้ว่า เพ็กทินในมะเขือพวงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้มะเขือพวงมีคุณสมบัติลดน้ำตาล ลดคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต และช่วยความสมดุลของระบบขับถ่ายดังที่ใช้กันในหลายประเทศ




มะเขือพวงกับโรคเบาหวาน
  • งานวิจัยที่ศึกษาปฏิกิริยาต้านอนุมูลอิสระของเครื่องดื่มจากมะเขือพวงแห้ง พบว่าน้ำสมุนไพรมะเขือพวงสามารถลดระดับอนุมูลอิสระซูเปอร์ออกไซด์ หรืออนุมูลอิสระไนทริกออกไซด์ในเลือดหนูที่เป็นเบาหวานได้ ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดสภาวะเครียดในหนูทดลองที่มีอาการของโรคเบาหวาน ส่งผลต่อสภาวะเครียดออกซิเดชันในเม็ดเลือดแดง น้ำสมุนไพรมะเขือพวงลดไขมันที่ถูกออกซิไดซ์เป็นไขมันไม่ดีในหนูที่มีอาการเบาหวาน นอกจากนี้พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานลดลงด้วย


มะเขือพวงกับโรคความดันโลหิตสูงและปัญหาเกล็ดเลือด

  • งานวิจัยที่ประเทศแคเมอรูนพบว่า เมื่อให้สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์ของผลมะเขือพวงกับหนูทดลองพบว่าความดันโลหิตของหนูต่ำลง และลดอัตราการเต้นของหัวใจด้วย โยฮิมบีนและอะโทรพีนไม่มีผลต่อฤทธิ์การลดความดันโลหิตของสารสกัดมะเขือพวง แต่โยฮิมบีนยับยั้งผลการลดอัตราการเต้นหัวใจของสารสกัดน้ำมะเขือพวง

  • เมื่อทดสอบการเกาะตัวของเกล็ดเลือดที่กระตุ้นโดยทรอมบินหรืออะดีโนซีนไตรฟอสเฟต พบว่าสารสกัดน้ำมะเขือพวงยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือดจากผลของสารทั้งสองดังกล่าว ฤทธิ์ลดความดันโลหิตของสารสกัดผลมะเขือพวงทั้ง ๒ ชนิดน่าจะเกิดจากการทำให้หัวใจเต้นช้าลง ผนวกกับผลยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือดทำให้มะเขือพวงมีประโยชน์สำหรับผู้มีความดันโลหิตสูงและมีปัญหาเรื่องการรวมตัวของเกล็ดเลือด ตามที่มีการใช้งานมาแต่ดั้งเดิมนั่นเอง

มะเขือพวงต้านอนุมูลอิสระและต้านอักเสบ
  • งานวิจัยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกรวมสารสกัดแอลกอฮอล์ของผลมะเขือตากแห้งแช่แข็ง ๑๑ ชนิดในประเทศไทยในปี พ.ศ.๒๕๕๑ พบว่าสารสกัดแอลกอฮอล์จากผลมะเขือพวงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด และมีปริมาณรวมสารฟีนอลิกรวมสูงสุด
  • การศึกษาฤทธิ์ของมะเขือพวงโดยคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๕๒ พบว่า สารสกัดมะเขือพวงมีสารโพลีฟีนอลสูง สารสกัดยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไซโตโครมพี 450 2E1 ในไมโครโซมของตับ มีฤทธิ์ขจัดอนุมูลอิสระที่เกี่ยวข้องกับไลพิดเพอร์ออกซิเดชันและซูเปอร์ออกไซด์แอนไอออน ผู้วิจัยเชื่อว่าสารสกัดมะเขือพวงมีศักยภาพในการลดความเครียดออกซิเดชันในผู้ป่วยเบาหวาน
  • งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.๒๕๕๒ พบว่าสารสกัดแอลกอฮอล์จากมะเขือพวงมีฤทธิ์ต้านการผลิตไนตริกออกไซด์ และ TNF-? ในเซลล์มิวรีนมาโครฟาจที่ถูกกระตุ้นด้วยไลโพโพลีแซ็กคาไรด์ของแบคทีเรียในภาชนะเพาะเลี้ยง จึงมีฤทธิ์ต้านอักเสบ
  • นอกจากนี้ งานวิจัยจากสถาบันวิจัยป่าไม้ประเทศมาเลเซียพบว่าสารสกัดผลมะเขือพวงมีผลยับยั้ง platelet activating factor (PAF)  ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหอบหืด การอักเสบเฉียบพลัน ภูมิแพ้และภาวะเลือดแข็งตัวอีกด้วย



มะเขือพวงบำรุงไต
  • งานวิจัยในอินเดียในปี พ.ศ.๒๕๔๕ พบว่าสารสกัดมะเขือพวงเมื่อให้ก่อนรับยามีความสามารถป้องกันและรักษาอาการพิษต่อไตที่เกิดจากยาคีโมรักษามะเร็งได้ การทดลองในหนูเมื่อให้ยาโดรูไบซิน พบว่าหนูทดลองเกิดการอุดตันในท่อไตและมีแผลในท่อไต เมื่อได้รับสารสกัดมะเขือพวงก่อนรับยาหนูไม่มีอาการดังกล่าว การศึกษานี้จึงสนับสนุนการใช้มะเขือพวงในการบำรุงไตของหลายประเทศ

มะเขือพวงรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
  • กลุ่มวิจัยในแคเมอรูนในปี พ.ศ.๒๕๕๑ พบว่า สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์ของมะเขือพวงมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากแอลกอฮอล์ ยา และความเครียด ส่วนที่ให้ผลดังกล่าวเพราะมีองค์ประกอบเป็นสารกลุ่มฟลาโวนอยด์และไทรเทอร์พีน ผลวิจัยนี้สนับสนุนการใช้งานใบมะเขือพวงของแพทย์พื้นบ้านในประเทศแคเมอรูน


มะเขือพวง จิ๋วแต่แจ๋ว
  • จะเห็นว่ามะเขือพวงผลน้อยนิดนี่เป็นพืชที่มีคุณค่าเกินขนาดจริงๆ ใครที่เคยเขี่ยมะเขือพวงออกจากอาหารควรเปลี่ยนใจหันมากินมะเขือพวงกันได้แล้ว

  • คนโบราณกล่าวไว้ว่าขมเป็นยา อยากสุขภาพดีก็ฝึกกินมะเขือพวงสุกทีละน้อยให้เกิดความคุ้นเคยกันดีกว่านะคะ
  • มะเขือพวงเป็นไม้ทนโรคพืช การเพาะปลูกมักไม่ต้องใส่สารพิษฆ่าแมลงจึงค่อนข้างแน่ใจว่าเมื่อกินมะเขือพวงได้ผักปลอดสารพิษแน่นอน