หน้าเว็บ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม


วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ผักเสี้ยนผี ผักเสี้ยนผีตากแห้ง

ผักเสี้ยนผี


ผักเสี้ยนผีตากแห้ง 
1/2 กิโล 350 บาท รวมส่ง โอนเงินก่อน
ขีดละ 150 บาทรวมส่ง ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว
1 กก 600 บา  รวมส่ง
ผมเก็บเองคัดเองนะครับ สะอาด เพราะล้างทุกครั้ง คัดสิ่งเจือปน 2-3 รอบ
.
ติดต่อเราโทร+ไลน์ 0918712395-0809898770
.
เก็บเอง คัดเอง ตากเองกินเองครับ เก็บเรื่อยๆ จึงไม่ต้างนาน






ออกไปเก็บเอง จากแหล่งที่ไม่มีการใช้ยาฆ่าหญ้า หรือเคมี
เอามาล้าง คัด แยกสิ่งเจอปนออก








.








ประโยชน์ของผักเสี้ยนผี ตามโบราณว่า ไปนิพพานไม่กลับนั้น หมายความว่า เดินก็เป็นสุข นั่งก็เป็นสุข นอนก็เป็นสุข ไม่ปวดเมื่อย เดินเหินคล่องแคล่ว นั่งทำงานทานอาหารได้อร่อยลิ้นไม่เป็นทุกข์โอดโอย นอนหลับสบายเต็มอิ่มไม่ทรมาน ตื่นขึ้นสดชื่นเบิกบาน ยิ้มแย้มตามวัยอันควร ผักเสี้ยนผี มีฤทธิ์ทางยาว่า คลายกล้ามเนื้อ แก้ปวด เป็นยาชาเฉพาะที่ เสริมฤทธิ์ยานอนหลับ ต้านเชื้อรา ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธ์ ยืนยันคำคนเก่าก่อนตามตำรายาไทยไว้ชัดเจน

.................
ประโยชน์ของต้น “ผักเสี้ยนผี” ว่าเป็นสมุนไพรอายุวัฒนะ ใช้เดี่ยวนานๆ จะกัดกระเพาะ ต้องใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ในหลายตำรับ แต่ที่ใช้บ่อย จำใช้สำหรับรักษาอาการแผลติดเชื้อมีหนอง บำรุงกำลังแก้หนาว ตอนที่สู้รบกัน แล้วต้องหนีตายกันอยู่ในป่า ในขณะนั้นจะก่อไฟต้มน้ำต้มยาบ่อยๆ ไม่ได้ เพราะทหารจะเห็นควันไฟ และตามมาจับตัวได้ จึงใช้วิธีการบดผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน พกติดตัวไว้กินและช่วยรักษาสหายคนอื่นๆ และยังย้ำว่าคนสมัยนี้เห็นของดีเป็นของไม่มีค่า ฉีดยาฆ่าหญ้าตายซะหมดเกลี้ยง จะเก็บยาสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้เหมือนเมื่อก่อนอยู่ป่าอีกแล้ว ขีนทำกินไปไม่ทันแก่จะตายซะก่อน

 สรรพคุณของผักเสี้ยนผี
ช่วยเจริญธาตุไฟในร่างกาย (ทั้งต้น)[3]
ใช้เป็นยากระตุ้นหัวใจ (ราก, เมล็ด)[9]
ทั้งต้นมีรสขมร้อน ช่วยแก้ลม (ทั้งต้น)[3]
รากช่วยแก้วัณโรค (ราก)[9]
ช่วยแก้ลมบ้าหมู (ทั้งต้น)[9]



  • ช่วยเสริมฤทธิ์การนอนหลับได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[14]
  • ถ้ามีอาการปวดศีรษะให้ใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอก (ใบ)[14] หรือใช้แก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว ด้วยการใช้ทั้งต้นของผักเสี้ยนผี ใบขี้เหล็กอ่อน ดอกขี้เหล็กอ่อน และราก ต้น ผล ใบ ดอกของแมงลัก นำมาต้มเป็นยากิน (ข้อมูลจาก : ครูณรงค์ มาคง) (ทั้งต้น)[12]
  • รากใช้ผสมกับเมล็ด ใช้เป็นยาแก้เลือดออกตามไรฟันได้ (ราก, เมล็ด)
  • ช่วยแก้อาการลมขึ้นหูหรืออาการหูอื้อ ด้วยการใช้ใบผักเสี้ยนผีประมาณ 3-4 ใบนำมาขยี้พอช้ำ แล้วใช้อุดที่หู สักพักอาการก็จะดีขึ้น (ใบ)[4]
  • ช่วยแก้อาการหูคัน ด้วยการใช้ใบผักเสี้ยนผีนำมาขยี้แล้วอุดไว้ที่หู แต่มีข้อแม้ว่าห้ามใช้กับเด็กเพราะจะร้อนเกินไป (ใบ)[11]
  • ช่วยแก้อาการหูอักเสบ (ทั้งต้น)[13]
  • ช่วยแก้ไข้[3] แก้ไข้ตรีโทษ[9] (ทั้งต้น)
  • เมล็ดนำมาต้มหรือชงเป็นชาใช้ดื่มช่วยขับเสมหะได้ (เมล็ด)[14]
  • ผักเสี้ยนผีใช้ต้มเอาน้ำกระสาย เป็นยาแก้ทรางขึ้นทรวงอกได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[14]
  • ช่วยแก้อาการปวดท้อง ลงท้อง ท้องเสีย (ทั้งต้น)[3]
  • ผลผักเสี้ยนผีช่วยฆ่าพยาธิ (ผล)[3] ทั้งต้นช่วยขับพยาธิในลำไส้ (ทั้งต้น)[5] รากและเมล็ดช่วยขับพยาธิตัวกลม (ราก, เมล็ด)[9]หรือใช้เมล็ดนำมาต้มหรือชงเป็นชา ใช้ดื่มช่วยขับพยาธิไส้เดือน (เมล็ด)[14]
  • ใบช่วยแก้ปัสสาวะพิการหรืออาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรืออาการปวดเวลาปัสสาวะ[3]ช่วยแก้ทุราวสา 12 ประการ[9] (ใบ) ส่วนเมล็ดนำมาต้มหรือชง ใช้ดื่มช่วยขับปัสสาวะได้ (เมล็ด)[14]
  • ช่วยรักษาโรคริดสีดวง บานทะโรค ด้วยการใช้ผักเสี้ยนผี 1 ส่วน / กะเพราทั้งสองอย่างละ 1 ส่วน / ต้นแมงลักทั้งห้า 1 ส่วน / ขอบชะนางแดงทั้งห้า 1 ส่วน โดยตัวยาทั้ง 4 นี้ ให้ใช้อย่างละ 2 บาท และใช้ใบมะกา 1 กำมือ แก่นขี้เหล็ก 1 กำมือ นำมาต้มน้ำเป็นยากินเช้า เย็น และก่อนนอน อย่างละ 1 แก้ว (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[7]


  • ผลผักเสี้ยนผีช่วยฆ่าพยาธิ (ผล)[3] ทั้งต้นช่วยขับพยาธิในลำไส้ (ทั้งต้น)[5] รากและเมล็ดช่วยขับพยาธิตัวกลม (ราก, เมล็ด)[9]หรือใช้เมล็ดนำมาต้มหรือชงเป็นชา ใช้ดื่มช่วยขับพยาธิไส้เดือน (เมล็ด)[14]
  • ใบช่วยแก้ปัสสาวะพิการหรืออาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรืออาการปวดเวลาปัสสาวะ[3]ช่วยแก้ทุราวสา 12 ประการ[9] (ใบ) ส่วนเมล็ดนำมาต้มหรือชง ใช้ดื่มช่วยขับปัสสาวะได้ (เมล็ด)[14]
  • ช่วยรักษาโรคริดสีดวง บานทะโรค ด้วยการใช้ผักเสี้ยนผี 1 ส่วน / กะเพราทั้งสองอย่างละ 1 ส่วน / ต้นแมงลักทั้งห้า 1 ส่วน / ขอบชะนางแดงทั้งห้า 1 ส่วน โดยตัวยาทั้ง 4 นี้ ให้ใช้อย่างละ 2 บาท และใช้ใบมะกา 1 กำมือ แก่นขี้เหล็ก 1 กำมือ นำมาต้มน้ำเป็นยากินเช้า เย็น และก่อนนอน อย่างละ 1 แก้ว (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[7]
  • ดอกช่วยฆ่าพยาธิผิวหนังและพยาธิต่าง ๆ (ดอก)[9]
  • ดอกใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค (ดอก)[3],[9]
  • มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อเอดส์ หรือ HIV (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[14]
  • ช่วยแก้พิษงูทุกชนิด (ทั้งต้น)[9]
  • ช่วยแก้พิษฝีหรือปรุงเป็นยาแก้ฝีในปอด ในลำไส้ และในตับ (อาการของเนื้องอกหรือมะเร็งที่เกิดภายในอวัยวะต่าง ๆ) (ทั้งต้น)[3]
  • ช่วยแก้โรคน้ำเหลืองเสีย (ต้น)[9]
  • ช่วยขับหนองในร่างกาย ช่วยทำให้หนองแห้ง (ทั้งต้น)[3]
  • ทั้งต้นใช้เป็นยาทาภายนอกช่วยแก้โรคผิวหนัง (ทั้งต้น)[5]
  • ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบ (ทั้งต้น)[5]
  • ผักเสี้ยนผีมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ ช่วยแก้อาการปวดได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[14]
  • ในประเทศจีนและอินเดีย ใช้ผักเสี้ยนผีเป็นสมุนไพร ทำเป็นยาพอกแก้อาการปวดศีรษะและปวดตามข้อ[1] หรือบดเกลือทาแก้อาการปวดหลัง (ใบ)[5]
  • ใบใช้เป็นยาถูนวดเพื่อช่วยให้เลือดไปเลี้ยงได้ดี ทำให้เลือดลมเดินสะดวกยิ่งขึ้น (ใบ, เมล็ด)[9]

  •  

  • ช่วยแก้อาการเหน็บชาตามแข้งขา ด้วยการนำผักเสี้ยนผีมาต้มกับตัวยาอื่น ๆ ได้แก่ มะขวิด ใบบัวบก แล้วใช้กินเป็นประจำ (ข้อมูลจาก : นายสมศรี หินเพชร ต.แคน อ.สนม จ.สุรินทร์) (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[6]
  • ช่วยแก้อาการปวดขา เส้นเลือดขอด โรคเหน็บชา ลุกนั่งเดินลำบาก โดยใช้สมุนไพรดังต่อไปนี้หนักอย่างละ 1 บาท ได้แก่ ผักเสี้ยนผี, แก่นขนุน, แก่นมะหาด, แก่นปรุ, แก่นประดู่, แก่นไม้รัง, แก่นไม้เต็ง, แก่นสักขี, แก่นไม้สัก, เกสรบัว, ขิง, ขิงชี้, ดอกสารภี, ดอกพิกุล, ดอกบุนนาค, คนทา, โคคลาน, โคกกระออม, จันทน์ทั้งสอง, ชะพลู, ใบมะคำไก่, ใบพิมเสน, ใบเล็บครุฑ, บัวขม, บัวเผื่อน, เท้ายายม่อม, มะเดื่อ, รางแดง, หัวคล้า, หัวแห้วหมู, ย่านาง, และยาข้าวเย็น นำทั้งหมดมาใส่หม้อต้ม แล้วใส่น้ำพอท่วมยา ใช้กินก่อนอาหารวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน และก่อนนอน ครั้งละค่อนแก้ว ถ้ายาหมดแล้วแต่ยังไม่หายให้ต้มกินอีกสัก 1-2 หม้อ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[7]
  • ใช้ปรุงเป็นยาแก้อาการปวดหัวเข่า ด้วยการใช้ทั้งต้นและรากของผักเสี้ยนผี 1 ส่วน, ไพล 1 ส่วน และการบูร 1 ส่วน (ใช้พอประมาณ ทำเป็นยาเพียงครั้งเดียว วันถัดไปให้ทำใหม่) นำทั้งหมดมาตำให้ละเอียดกับสุราดีกรีสูง ๆ แล้วคั้นเอาเฉพาะน้ำมาเก็บใส่ขวดไว้ใช้ทาและนวดหัวเข่าบ่อย ๆ (ราก, ทั้งต้น)[10]
  • ใช้ปรุงเป็นยาแก้ขัด ยกไหล่ยกแขนไม่ขึ้น ด้วยการใช้ต้น ใบ และกิ่งผักเสี้ยน (ปริมาณพอสมควร), ใบพลับพลึง 3 ใบ, และใบยอ 17 ใบ นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำ และให้ใช้พิมเสน และการบูร (ปริมาณพอสมควร) นำทั้งหมดมาใส่ในหม้อแล้วต้มไฟอ่อน ๆ เคี่ยวให้ละลายจนเข้ากัน และยกลงรอให้เย็นแล้วเทยาใส่ขวดเป็นอันเสร็จ นำยาที่ได้มานวดบริเวณหัวไหล่ที่ยกไม่ขึ้น เช้า, เย็น ไม่เกิน 3 วันอาการก็จะหายเป็นปกติ (ต้น, ใบ, กิ่ง)[10]
  • ใช้ปรุงเป็นยากินแก้อาการอัมพาต มือตายเท้าตาย โดยใช้รากผักเสี้ยนผี, กาฝากที่ต้นโพธิ์, แกแล, แก่นขี้เหล็ก, แก่นขนุน, แก่นสน, แก่นปรุ, แก่นประดู่, แก่นไม้สัก, แก่นมะหาด, กำลังวัวเถลิง, ฝางเขน, เถาวัลย์เปรียง, ลูกฝ้ายหีบ, รกขาว, รกแดง, รากจง, รากกำจัด, รากกำจาย, รากคุยขาว, รากพลูแก่, รากหิบลม, รากกระพงราย, รากมะดูกต้น, สุรามะริด, สักขี, สมิงคำราม, สมอหนัง, สมอเทศลูกใหญ่, แสมทะเล, แสมสาร, โพกะพาย, โพประสาท, เพ็ดชะนุนกัน, พระขรรค์ไชยศรี, พริกไทย, มะม่วงคัน, เปล้าน้ำเงิน, เปล้าเลือด, เปล้าใหญ่, เปลือกเพกา, เปลือกราชพฤกษ์, เปลือกขี้เหล็ก, เปลือกสมุลแว้ง, ยาดำ, ยาข้าวเย็นใต้, ยาข้าวเย็นเหนือ (ทั้งหมดนี้เอาหนักละ 1 บาท) และให้เพิ่มสมอไทยเข้าไปด้วยเท่าอายุของผู้ป่วย ใช้ต้มกินประมาณ 4-5 หม้อใหญ่ ใช้ดื่มก่อนอาหาร 30 นาที ครั้งละครึ่งแก้วถึงหนึ่งแก้ว วันละ 3 เวลา (ราก)[10]
  • ใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพรรักษาแผล ไม่ว่าจะเป็นแผลสดหรือแห้ง แผลถลอก แผลฟกช้ำบวม แผลติดเชื้อ แผลเรื้อรัง แผลพุพองไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลกดทับ แผลเบาหวาน แผลในระบบทางเดินอาหาร แผลเริม แผลมีหนองมีกลิ่น ใช้ห้ามเลือด ช่วยเร่งการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อ และยังรวมไปถึงการใช้แก้อาการเคล็ดขัดยอก กล้ามเนื้ออักเสบ หรือเส้นเอ็นให้บรรเทาอาการลงได้ ด้วยการใช้ ผักเสี้ยนผี 1 กิโลกรัม (ใบ, ดอก, กิ่งอ่อน), ไพล 1 กิโลกรัม, ขมิ้นอ้อย 1 กิโลกรัม, พิมเสน 15 กรัม และน้ำมันมะพร้าว 2 ลิตร วิธีการปรุงยาขั้นตอนแรก ให้เคี่ยวน้ำมันมะพร้าวด้วยไฟอ่อนจนร้อน แล้วนำผักเสี้ยนผีลงทอดในน้ำมันมะพร้าวจนผักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจึงช้อนตักขึ้นมา ต่อมาให้นำไพลมาหั่นเป็นแว่นบาง ๆ ใช้ทอดในน้ำมันที่ได้จากขั้นตอนแรก จนไพลเป็นสีน้ำตาลแล้วจึงช้อนตักขึ้นมา แล้วนำขมิ้นอ้อยที่หั่นเป็นแว่นบาง ๆ แล้วลงทอดในน้ำมันที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 จนขมิ้นเป็นสีน้ำตาล แล้วค่อยช้อนตักขึ้นมา หลังจากนั้นก็ให้หยุดการเคี่ยวแล้วรอจนยาสมุนไพรเย็นตัวลง ก็จะได้ยาที่มีสีเขียวอมเหลือง ขั้นตอนสุดท้ายให้ใส่พิมเสนและคนให้ละลายเป็นอันเสร็จ ส่วนวิธีการใช้ให้นำสำลีบาง ๆ มาชุบยาแล้วทาบริเวณที่มีอาการ หรือใช้รับประทานเพื่อรักษาแผลในระบบทางเดินอาหาร (ใบ, ดอก, กิ่งอ่อน) (ข้อมูลจาก : นายสมหมาย สอดสี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต, แพทย์แผนไทยบัณฑิต)[8]
  • รากผักเสี้ยนผีช่วยแก้โรคผอมแห้งของสตรี เนื่องจากคลอดบุตรและอยู่ไฟไม่ได้ (ราก)[3]
  • ใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ ผักเสี้ยนผี, แก่นขี้เหล็ก, แก่นไม้ตำเสา, กระแตไต่ไม้, กำมะถันเหลือง, ขลู่, ขมิ้นอ้อย, คุระเปรียะ, งวงตาล, ซังข้าวโพด, ต้นตายปลายเป็น, เถาแกลบกล้อง, เถาวัลย์เปรียง, เถาโพกออม, ถั่วแระ, ผักโขมหนาม, ฝนแสนห่า, ฝักราชพฤกษ์, พยับเมฆพยับหมอก, ใบมะกา, ใบกอกิว, บอระเพ็ดดอกขาว, เปลือกสำโรง, รกชุมเห็ดไทย, รากระย่อม, รากคนที, รากกระดูกไก่ขาว, รากกระดูกไก่แดง, รากมะละกอ, รากหมากหมก, รากตะขบป่า, รากเจตมูลดอกแดง, รากปลาไหลเผือก, รากขอบนางขาว, รากขอบนางแดง, สำมะงา, ไส้สับปะรด, หัวเล็กข่า, หัวขาใหญ่, หัวหญ้าคา, หัวแห้วหมู, หัวบุกเล็ก, หัวหญ้าครุน, และยาหนูต้น (ทั้งหมดใช้อย่างละเท่า ๆ กัน หากไม่มีตัวไหนก็ไม่ต้องใช้ก็ได้) ให้นำทั้งหมดใส่ในปี๊บต้มไปเรื่อย ๆ ต่อไปให้หาถั่วเขียวมาต้มไว้จนพองอีก 1 หม้อ เวลาจะกินยาก็ให้ตักยาจากปี๊บมาผสมกับถั่วเขียว แล้วเติมน้ำตาลแดงลงไปให้พอรู้สึกหวาน ใช้กินครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2 ครั้ง ให้กินติดต่อกันไม่เกิน 2 เดือน โรคเบาหวานจะหายขาด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[10]
  • ประโยชน์ของผักเสี้ยนผี
  • ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อน สามารถนำมาบริโภคเป็นอาหารได้ ด้วยการนำมาใช้ดองเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ขนมจีน หรือนำไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ต้มส้ม แกงส้ม เป็นต้น[2]
  • เมล็ดมีน้ำมันและวิตามินเอฟหรือกรดไลโนเลอิก (Linoleic) ในปริมาณมาก และสามารถใช้รับประทานได้[1]



 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น