หน้าเว็บ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม


วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ผักเชียงดา

ผักเชียงดา
ราคา 50 บาท ขั้นต่ำ 5 ต้น (ไม่รวมส่ง)




ต้นผักเชียงดา
  •  
ใบผักเชียงดา
ดอกผักเชียงดา
ผลผักเชียงดา
ผักเชียงดา
ผักเชียงดา ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnema inodorum (Lour.) Decne. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)[1],[4]


ผักเชียงดา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เชียงดา, เจียงดา, ผักเจียงดา, ผักเซียงดา, ผักกูด, ผักจินดา, ผักเซ่งดา, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักว้น, ผักฮ่อนไก่, ผักอีฮ่วน, เครือจันปา เป็นต้น[3],[4],[6],[7],[10]

ลักษณะของผักเชียงดา
ต้นผักเชียงดา จัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุข้ามปี ความยาวของเถาขึ้นอยู่กับอายุ ลำต้นเป็นสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ทุกส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นจะมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี เป็นผักพื้นบ้านที่ชาวเหนือในแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา นิยมปลูกไว้หน้าบ้านเพื่อนำยอดไปประกอบอาหาร[1],[2],[3] ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน และแอฟริกา[6]
ต้นผักเชียงดา

ใบผักเชียงดา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากข้อเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปกลมรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 9-11 เซนติเมตร และยาวประมาณ 14.5-18.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีอ่อนกว่า ผิวใบเรียบไม่มีขน ก้านใบยาวประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร[1],[2]
ใบผักเชียงดา

ดอกผักเชียงดา ออกดอกเป็นช่อแน่นสีขาวอมเขียวอ่อน ดอกย่อยมีขนาดเล็กกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร[4]
ดอกผักเชียงดา

ผลผักเชียงดา ออกผลเป็นฝัก[4]
ผลผักเชียงดา

สรรพคุณของผักเชียงดา
ผักเชียงดามีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ ช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง และการเสียของ DNA ข้ออักเสบรูมาตอยด์และเกาต์[2]
ผักเชียงดามีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ[2] และชาวบ้านยังนิยมกินผักเชียงดาหน้าร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกายอีกด้วย[6]
หมอยาพื้นบ้านในจังหวัดจะใช้ผักเชียงดาเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยอันเนื่องมาจากการทำงาน[7]
ช่วยทำให้เจริญอาหาร[4]
ช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย[8]

ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล ช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อน ด้วยการนำผักเชียงดามาปรุงเป็นอาหารรับประทาน[1],[4],[8] จากการศึกษาพบว่า การรับประทานผงผักเชียงดาก่อนอาหารประมาณวันละ 8-12 กรัม (แบ่งการรับประทานเป็น 3 มื้อ มื้อละ 4 กรัม) จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานให้เป็นปกติได้ หรือจะรับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด ก็สามารถช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวานได้เช่นกัน[5]
ช่วยควบคุมและปรับระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ[8]
ช่วยลดและควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายให้สมดุล[8]
ผักเชียงดาสามารถนำไปใช้ลดน้ำหนักได้ เพราะผักชนิดนี้สามารถช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีรายงานว่า ผักเชียงดาสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง[10]
ผักเชียงดามีสรรพคุณช่วยบำรุงสายตา แก้ตาฝ้าฟาง มีอาการเคืองตา เนื่องจากผักชนิดนี้มีวิตามินสูง[1]
ช่วยแก้หูชั้นกลางอักเสบ (ต้น)[9]
ใบนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณกระหม่อมเพื่อรักษาไข้ อาการหวัด ปรุงเป็นยาลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ หรือนำไปประกอบในตำรายาแก้ไข้อื่น ๆ[2],[4]
ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ (ผล)[4]
ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้และหอบหืด[8]
ต้นสรรพคุณเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้ปอดอักเสบ (ต้น)[9]
ช่วยแก้โรคบิด (ต้น)[9]
การรับประทานผักเชียงดาใบแก่ จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น และชาวบ้านยังนิยมนำมาแกงรวมกับผักตำลึงและยอดชะอมเพื่อใช้รักษาอาการท้องผูกอีกด้วย[2],[6]
ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ต้น)[9]
ต้นแห้งหรือต้นสดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)[9]
ช่วยขับระดูของสตรี[4]
ช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง ช่วยบำรุงและปรับสภาพการทำงานของตับอ่อนให้เป็นปกติ[8]
ช่วยบำรุงและซ่อมแซมหมวกไต และระบบการทำงานของไตให้สมบูรณ์[8]
ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ต้น)[9]
ใบใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนังทุกชนิด ทำให้น้ำเหลืองแห้ง และแก้กามโรค[9]
ใบสดใช้ตำพอกฝีหรือหัวลำมะลอก งูสวัด เริม ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน[4]
หัวมีรสมันขม มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษอักเสบ พิษร้อน ช่วยดับพิษกาฬ แก้พิษไข้เซื่องซึม และแก้เริม (หัว)[4]
ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อจากโรคเกาต์[8]
ในบ้านเรามีการใช้ผักเชียงดาเป็นทั้งยาสมุนไพรและเป็นอาหารเพื่อรักษาโรคโดยกลุ่มหมอเมืองทางภาคเหนือมานานแล้ว กล่าวคือ การใช้เป็น “ยาแก้หลวง” (คล้ายยาครอบจักรวาลของแผนปัจจุบัน) ถ้าคิดไม่ออกก็บอกผักเชียงดา เช่น แก้เบาหวาน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน แก้ไข้สันนิบาต (ชักกระตุก) แก้หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด แก้แพ้ยา แพ้อาหาร ปวดข้อ เป็นยาระบาย ช่วยระงับประสาท หรือเมื่อมีอาการคิดมากหรือจิตฟั่นเฟือน ฯลฯ ส่วนการนำมาใช้เป็นยาก็ให้นำผักเชียงดามาสับแล้วนำไปตากแห้งบดเป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม หรือจะนำมาบรรจุลงในแคปซูลก็ได้[5]
หมายเหตุ : การนำมาใช้เป็นยาในหน้าแล้ง ให้ใช้รากมาทำยา ส่วนในหน้าฝนให้ใช้ส่วนของเถาและใบ โดยนำมาสับตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม[6]

โสมไทย

โสมไทย
ราคา 50 บาท(ไม่รวมส่ง)
โสมไทย หรือ โสมคน สมุนไพรไทย รากใช้บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย ใบอ่อน สามารถนำมาประกอบอาหารได้ เป็นพืชที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่เพิ่งฟื้นไข้ ใช้ขับน้ำนมในสตรีให้นมบุตร



จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีอายุเพียงหนึ่งปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของลำต้นประมาณ 60-100 เซนติเมตร มักแตกกิ่งก้านบริเวณโคนต้น 

จำนวนของกิ่งที่แตกออกจากต้นมีประมาณ 5 กิ่งขึ้นไป โดยการแตกกิ่งจะทิ้งช่วงห่างประมาณ 1 นิ้ว ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมและฉ่ำน้ำ ลำต้นอ่อนเป็นสีเขียว 

เมื่อมีอายุมากจะเป็นสีน้ำตาลบริเวณโคนต้น ต้นอ่อนลำต้นจะเปราะและหักได้ง่าย เมื่อแก่แล้วจะแข็งและเหนียว มีเนื้อแข็งคล้ายไม้ 

นิยมขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เพราะจะได้รากแบบโสมเกาหลีหรือโสมจีน แต่ถ้านำมาปักชำจะไม่มีรากแก้ว (รากโสม) แต่จะมีเพียงรากแขนงเท่านั้น 

โสมไทยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่เจริญเติบโตได้ดีในดินทรายหรือดินร่วนซุยที่มีความชุ่มชื้นสูง ชอบที่มีแสง พบขึ้นได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ มักพบในที่ชุ่มชื้น บริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ ตามป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ตามไร่สวน หรือบ้านเรือนทั่วไป

รากโสมไทย รากเป็นรากแก้วหรือเหง้าขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน คล้ายรากโสมเกาหลี รากแก้วมีความเหนียว ลักษณะของรากเป็นรูปกลมยาวปลายแหลมคดงอเล็กน้อย และมีรากฝอยมาก ส่วนเปลือกของรากเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาล เนื้อในรากนิ่มเป็นสีขาวนวล เมื่อขูดที่ผิวของรากสักครู่ จะพบว่าบริเวณที่ขูดเป็นสีแดง รากแก้วจะมีความเหนียว มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย เมื่อรากโตเต็มที่จะมีรูปร่างคล้ายโสมเกาหลีหรือโสมจีน

ใบโสมไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือแหลมสั้น โคนใบสอบหรือเรียวแคบเล็กลงจนถึงก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ไม่มีขน หลังใบมีสีเข้มกว่าท้องใบ เนื้อใบหนาและนิ่ม เส้นใบสานกันเป็นร่างแห น้ำยางที่ใบมีสีและเหนียว เมื่อสัมผัสจะรู้สึกคันเล็กน้อย

ดอกโสมไทย ออกดอกเป็นช่อบริเวณส่วนยอดหรือที่ปลายกิ่ง ก้านช่อตั้งขึ้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ดอกเป็นสีม่วงแดงอ่อน เมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 6 มิลลิเมตร (ดอกจะบานในช่วงที่มีแสง เวลาไม่มีแสงดอกจะหุบ ก้านดอกย่อยยาว) กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่หรือเป็นรูปกลมรี ปลายกลีบแหลม กลีบดอกเป็นสีม่วงแดงไม่มีกลิ่น ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 2 กลีบ หลุดร่วงได้ง่าย สีขาวใส ห่อหุ้มดอกในขณะตูม โคนกลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลม แกนกลางของกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม เป็นเส้นบางขึ้นไป ส่วนปลายกลีบเลี้ยงจะมีลักษณะแหลม ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ บริเวณกลางดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน ล้อมรอบเกสรเพศเมีย มีสีเหลือง มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วประกบกัน ส่วนก้านเกสรเพศเมียจะเป็นเส้นบาง ๆ คล้ายกับด้ายและมีลักษณะโค้งเล็กน้อย ส่วนปลายแฉกจะแยกออกเป็น 3 แฉก และมีสีชมพูเหมือนสีของกลีบดอก รังไข่มีลักษณะกลม ภายในรังไข่มีออวุลเป็นเม็ดเล็ก ๆ จำนวนมาก ส่วนละอองเรณูจะมีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ สีเหลือง หากมีความชุ่มชื้นเพียงพอ จะออกดอกได้ตลอดทั้งปี และมักมีแมลงและมดดำมาอาศัยอยู่

ผลโสมไทย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือกลมรี ผลมีขนาดเล็ก โดยจะมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร เมื่ออ่อนผลจะเป็นสีเขียว ผิวผลเรียบ เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีเหลืองอ่อน สีแดง และจะเป็นสีเทาเข้ม เมื่อแก่จัดจะแตกทำให้เมล็ดฟุ้งกระจายตกลงบนพื้นดิน ภายในผลมีเมล็ดสีดำขนาดเล็ก มีจำนวนเมล็ดประมาณ 50-60 เมล็ด

เมล็ดโสมไทย ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมแบน เมล็ดมีสีขาวตอนผลอ่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่ ผิวเมล็ดเรียบ มีลักษณะเปราะบาง

สรรพคุณของโสมไทย

  1. รากโสมไทยมีรสชุ่ม ขมเล็กน้อย เป็นยาสุขุม ไม่มีพิษ ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย (ราก)[2] ส่วนเหง้าโสมไทยมีรสหวานร้อน ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย โดยใช้เหง้านำมาดองกับเหล้ากิน (เหง้า)[3],[4]
  2. หากร่างกายมีอาการอ่อนเพลีย อันเนื่องมาจากการตรากตรำทำงานหนัก ให้ใช้รากสดหรือรากแห้ง นำมาผสมกับรากทงฮวย และน้ำตาลกรวด แล้วนำมาตุ๋นกินกับไก่ (ราก)[1],[3] ส่วนอีกตำรับยาแก้อาการอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง ให้ใช้รากแห้ง 35 กรัม นำมาตุ๋นกินกับปลาหมึกแห้ง 1 ตัว (ราก)[2]
  3. หากมีเหงื่อออกมากผิดปกติ เหงื่อออกไม่รู้ตัว ให้ใช้รากแห้งประมาณ 60 กรัม นำมาตุ๋นกับกระเพาะหมูหนึ่งใบแล้วนำมากิน (ราก)[1],[2],[3]
  4. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ราก)[5]
  5. ใช้เป็นยาบำรุงร่างกายหลังการฟื้นไข้ใหม่ ๆ ด้วยการใช้รากแห้ง 30 กรัม รากโชยกึงป๊วก 30 กรัม และโหงวจี้ม่อท้อ 15 กรัม นำมาผสมกันต้มกับน้ำกิน (ราก)[1],[3]
  1. รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ศีรษะมีไข้ (ราก)[1],[3]
  2. รากใช้เป็นยาแก้อาการไอ ไอเป็นเลือด ไอแห้ง แก้ปวดร้อนแห้ง ตำรับยาแก้ไอ ให้ใช้รากสดหรือรากแห้ง นำมาผสมกับรากทงฮวย และน้ำตาลกรวด ใช้ตุ๋นกินกับไก่ (ราก)[1],[2],[3]
  3. ใช้รักษาอาการไอเรื้อรังซึ่งเกิดจากปอด ด้วยการใช้รากแห้ง หงู่ตั่วลักแห้ง อย่างละประมาณ 30 กรัม เจียะเชียงท้อแห้ง 15 กรัม และแบะตง 10 กรัม นำมาผสมกันแล้วต้มกับน้ำกินเป็นยา (ราก)[1]
  4. รากโสมไทย มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงปอด ทำให้ปอดชุ่มชื่น (ราก)[1],[2],[3]
  5. รากใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย ถ้าใช้แก้อาการท้องเสียอันเนื่องมาจากความเครียดหรือความกังวลที่มากเกินไป ให้ใช้รากแห้งประมาณ 15-30 กรัม และผลพุทราจีน 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ราก)[1],[3]
  6. ใช้เป็นยาแก้ธาตุอ่อน กระเพาะลำไส้ไม่มีเรี่ยวแรง ถ่ายกะปริบกะปรอย ด้วยการใช้รากแห้ง 30 กรัม และพุทราจีน 30 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำกิน (ราก)[2]
  7. ใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะขัด (ราก)[1],[3]
  8. ช่วยแก้อาการปัสสาวะมากผิดปกติ ด้วยการใช้รากโสมไทยสดกับรากกิมเอ็งสด อย่างละประมาณ 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินวันละ 2-3 ครั้ง (ราก)[1],[2]
  9. ช่วยแก้ประจำเดือนมาผิดปกติของสตรี หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ (ราก)[1],[2],[3]
  10. รากมีสรรพคุณช่วยบำรุงม้าม (ราก)[5]
  11. ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้บวมอักเสบมีหนอง วิธีใช้รักษาฝีอักเสบมีหนอง ให้นำใบสดกับน้ำตาลทรายแดง นำมาตำผสมกันให้ละเอียดจนเข้ากัน ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)[1],[3]
  12. เหง้าใช้เป็นยาทาภายนอกแก้อาการอักเสบ ลดอาการบวม (เหง้า)[3]
  13. สำหรับสตรีหลังการคลอดบุตร มีน้ำนมน้อย ให้ใช้ใบอ่อนของต้นโสมไทยมาผัดกินเป็นอาหาร จะช่วยขับน้ำนมได้ (ใบ)[1],[3] ส่วนรากมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงน้ำนมของสตรี (ราก)[2]
วิธีใช้ : การใช้ตาม [2] ถ้าเป็นรากแห้งให้ใช้ครั้งละ 20-35 กรัม ส่วนรากสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน[2]

ประโยชน์ของโสมไทย

ใบโสมคน
  • ยอดอ่อน ใบอ่อนโสมไทยสามารถนำมาผัดเป็นผักที่มีรสชาติดี เช่น ผัดน้ำมันหอย ผัดแบบผักบุ้งไฟแดง หรือนำมาใช้ทำแกงเลียง แกงป่า แกงจืด แกงแค ส่วนยอดใบอ่อนก็นำมาลวก ต้ม หรือนึ่งจิ้มกินกับน้ำพริก ใช้ผสมในแป้งทำขนมบัวลอย ขนมทองพับ ข้าวเกรียบปากหม้อ และใบอ่อนยังสามารถนำมาใช้แทนผักโขมสวน ในการทำอาหารได้อีกด้วย[3],[5]
  • โสมไทยเป็นพืชที่อุดมไปด้วยวิตามิน และเป็นอาหารที่มีคุณค่าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่เพิ่งฟื้นไข้[3] ใบอ่อนและยอดอ่อน จะนำมาใช้รับประทานเป็นผักใบเขียว มีประโยชน์ช่วยบำรุงร่างกาย โดยคุณค่าทางโภชนาการของโสมไทย จะประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต, เส้นใยอาหาร, โปรตีน, แคลเซียม, ธาตุเหล็ก, ฟอสฟอรัส, วิตามินเอ, วิตามินบี 1, วิตามินบี 2 นอกจากนี้ยังมี essential oils, สาร flavonoids, chromene, มีน้ำมันหอมระเหยอีกเล็กน้อย และยังมีสารสำคัญอื่น ๆ อีก เช่น borneol, camphene, camphor, cineol, limonene, myrcene, pinene, pinostrobin, rubramine, thujene เป็นต้น[4] (บางข้อมูลระบุว่า โสมไทยมีกรดออกซาลิกสูง ผู้ที่เป็นโรคไต โรคเกาต์ โรคไขข้ออักเสบ ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก)
  • บางข้อมูลระบุว่า โสมไทยเป็นผักที่มีฤทธิ์เย็น สามารถนำมาใช้ทำเป็นน้ำคลอโรฟิลล์ได้
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เนื่องจากมีลักษณะของลำต้นและใบที่เขียวชอุ่ม และมีดอกสีม่วงที่ดูสวยงาม[5]
  • ......................................
  • โสมไทย
    ใบ นำมาประกอบอาหารได้ พอกลดบวมอักเสบ แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ตำสุมหัวเด็กลดไข้ ช่วยขับน้ำนม แก้ร้อนใน
    ใช้ใบคั้นน้ำผสมน้ำลอยดอกมะลิดื่ม ทำให้สดชื่น ช่วยล้างสารพิษและเป็นยาระบายอ่อนๆ
    เหง้า เข้ายาดองเหล้า ยาต้ม บำรุงกำลัง บำรุงปอด แก้ไข้ แก้ไอ แก้วิงเวียน อ่อนเพลีย ขับปัสสาวะ
    เหง้าแก่ ต้มกับขิง ใบเตย เห็ดหูหนู กระดูกหมู เกลือเล็กน้อย ดื่มอุ่นๆ ช่วยบำรุงกำลังให้ฟื้นไข้ได้ไว

ต้นกล้าชะเอมเทศ

ต้นกล้าชะเอมเทศ
ราคา 65 บาท (ราคาไม่รวมส่ง)
ขนาดต้นไม่ใหญ่เท่านี้นะครับ เล็กกว่านี้พอเหมาะแก่การขนส่ง

เป็นพรรณไม้ที่มีอายุนานหลายปี ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-2 เมตร 
ใบเป็นใบประกอบลักษณะเป็นรูปขนนก และจะออกสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 9-17 ใบ 
ก้านใบย่อยนั้นจะสั้นมาก ใบจะเป็นสีเขียวอมเหลือง ดอกจะออกเป็นช่อ กลีบดอกจะเป็นสีม่วงอ่อน ๆ และก้านดอกจะสั้นมาก 
ฝักจะมีลักษณะแบน และผิวข้างนอกจะเรียบ 

สรรพคุณทางยา 
เปลือกของราก จะมีเป็นสีแดง และมีรสหวานใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้คลื่นเหียน อาเจียน 
ใบทำให้เสมหะแห้ง และเป็นยารักษาดีพิการ 
ดอกใช้รักษาอาการคัน และรักษาพิษฝีดาษ 
ผลจะมีรสหวาน ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง และอาการคอแห้ง ทำให้ชุ่มชื้น 
รากจะมีรสชุ่ม ใช้เป็นยาบำรุงปอด ขับเลือดที่เน่าในท้อง รักษาพิษยาหรือพืชพิษต่างๆ ชนิดคั่วแล้วรักษาอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ตรากตรำทำงานหนัก ปวดท้อง ไอเป็นไข้ สงบประสาท บำรุงปอด 

ใช้รากสดรักษาอาการเจ็บคอ เป็นแผลเรื้อรัง ระบบการย่อยอาหารไม่ดี หรืออาหารเป็นพิษ และรักษากำเดาให้เป็นปกติ อื่น ๆในรากของชะเอมนั้น จะมีแป้งและความหวานมาก ต้องรักษาไว้อย่าให้แมลงมารบกวน เพราะพวกมอดและแมลงอื่นชอบกิน ถ้าผุจะทำให้เสื่อมคุณภาพ นอกจากนี้ยังใช้รากผสมยาอื่น ช่วยกลบรสยา หรือแต่งยาให้หวานอีกด้วย 

สรรพคุณทางคลินิก 
1.รักษาอาการปัสสาวะออกมากผิดปกติ (เบาจืด) 
2.รักษาแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก 
3.รักษาอาการหอบหืดจากหลอดลมอักเสบ 
4.รักษาโรควัณโรคปอด 
5.รักษาเส้นเลือดดำขอด 
6.รักษาลำไส้บีบตัวผิดปกติ ซ้อนกันเป็นก้อน 
7.รักษาโรคไข้มาลาเรีย 
8.รักษาโรคพยาธิใบไม้ในเลือดอย่างเฉียบพลัน 
9.รักษาโรคตับอักเสบชนิดที่ติดต่อได้ 
10.รักษาเยื่อตาอักเสบ 
11.รักษาผิวหนังบริเวณแขน ขา แตกเป็นขุย 
12.รักษาผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคัน 
13.รักษาปากมดลูกอักเสบเน่าเปื่อย 
14.รักษาแผลที่เกิดจากการถูกความเย็นจัด 
15.รักษาเยื่อหุ้มลูกตาชั้นนอกอักเสบ (Scleritis) 

ต้นโด่ไม่รู้ล้ม

ต้นโด่ไม่รู้ล้ม
ราคา 45 บาท(ไม่รวมส่ง)
ขั้นต่ำ 10 ต้นครับ จะได้ส่งขนส่งเองชนไปถึงหน้าบ้านได้





โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม ชื่อสามัญ Prickly-leaved elephant’s foot
โด่ไม่รู้ล้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ Elephantopus scaber L. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
สมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย), คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ), หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี), ตะชีโกวะ ติ๊ซิเควาะด๊ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โน๊ะกะชอย่อตะ กาว่ะ เนาะดากวอะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เคยโป้ หนาดผา หญ้าปราบ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าไฟนกคุ้ม หญ้าสามสิบสองหาบ (ภาคเหนือ), ก้อมทะ เกดสะดุด ยาอัดลม (ลั้วะ), จ่อเก๋ (ม้ง) เป็นต้น

ลักษณะของโด่ไม่รู้ล้ม

  • ต้นโด่ไม่รู้ล้ม เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสั้นและกลม ชี้ตรง มีความสูงราว 10-30 เซนติเมตรอยู่ในระดับพื้นผิวดิน ตามผิวลำต้นและใบจะมีขนละเอียดสีขาว สาก ห่าง ทอดขนานกับผิวใบ พืชชนิดนี้เมื่อถูกเหยียบหรือโดนทับก็จะดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้เหมือนปกติ (สมชื่อเลย) ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าโปร่งที่มีดินค่อนข้างเป็นทราย ในป่าเต็งรัง ป่าดิบ และในป่าสนเขาทั่วทุกภาคของประเทศไทย และประเทศในเขตร้อนทั่วโลก
ต้นโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
รูปโด่ไม่รู้ล่ม
  • ใบโด่ไม่รู้ล้ม มีใบเป็นใบเดี่ยวอยู่บริเวณเหนือเหง้าติดกันเป็นวงกลม เรียงสลับชิดกันอยู่เป็นกระจุก คล้ายกุหลาบซ้อนที่โคนต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหัวกลับ แผ่นใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ขอบใบหยักหรือเป็นจักคล้ายฟันเลื่อยห่าง ๆ มีเส้นแขนงของใบประมาณ 12-15 คู่ ส่วนของใบที่ค่อนไปทางปลายจะผายกว้าง แล้วสอบเป็นแหลมทู่ ๆ ส่วนโคนใบจะสอบแคบจนถึงก้านใบ มีเนื้อใบหนาสาก ผิวใบจะมีขนสากเล็ก ๆ ขนตรงห่างมีสีขาว และมีขนต่อมห่างอยู่ทั้งสองด้าน โดยท้องใบจะมีขนมากกว่าหลังใบ แผ่นใบมักแผ่ราบไปกับพื้นดิน ก้านใบยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร หรือไม่มีก้านใบ
สมุนไพรโด่ไม่รู้ล้มใบโด่ไม่รู้ล้ม
  • ดอกโด่ไม่รู้ล้ม ออกดอกเป็นช่อแทงออกมาจากลำต้น ลักษณะของช่อดอกเป็นรูปขอบขนาน มีดอกย่อยขนาดเล็ก 4 ดอก ยาวประมาณ 9-10 มิลลิเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ดอกเป็นรูปหลอดสีม่วง หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 3-3.5 มิลลิเมตร เกลี้ยง ส่วนปลายกลีบดอกยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ไม่มีขน ดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลือง มีอับเรณูยาวประมาณ 2.2-2.3 เซนติเมตร ปลายแหลม ฐานเป็นติ่งแหลม ส่วนก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1.5-1.7 เซนติเมตร และเกสรตัวเมียมีก้านเกสรยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ยอดเกสรยาว 0.5-0.6 มิลลิเมตร มีขนอยู่ปลายยอดและสิ้นสุดที่รอยแยก แต่ละช่อย่อยจะอยู่รวมกันเป็นช่อกระจุกกลมที่ปลายก้านดอก ที่โคนกระจุกดอกจะมีใบประดับแข็งเป็นรูปสามเหลี่ยมแนบอยู่ด้วย 3 ใบ ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร ขอบใบเรียบปลายเรียวแหลม ที่ผิวใบทั้งสองด้านมีขนตรงสีขาว ออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง ก้านช่อดอกมีความยาวได้ถึง 8 เซนติเมตรและมีขนสาด ๆ อยู่ทั่วไป ส่วนฐานรองดอกจะแบนและเกลี้ยง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-0.7 มิลลิเมตร วงใบประดับเป็นรูปขอบขนาน มี 2 ชั้น สูงราว 7-10 มิลลิเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ใบประดับคล้ายรูปหอก ผิวด้านนอกมีขนตรง ส่วนขอบใบมีขนครุย ชั้นนอกเป็นรูปใบหอกยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตรและกว้างประมาณ 0.5-1.5 มิลลิเมตร ปลายแหลม ส่วนชั้นที่ 2 เป็นรูปขอบขนานกว้างประมาณ 1-2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร ปลายแหลม สีขาว เป็นเส้นตรงแข็ง มี 5 เส้น เรียง 1 ชั้น ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร
ดอกโด่ไม่รู้ล้ม
  • ผลโด่ไม่รู้ล้ม ผลเป็นผลแห้งและไม่แตก ลักษณะของผลเล็กและเรียว เป็นรูปกรวยแคบ ผิวด้านนอกผลมีขนหนาแน่น ยาวประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตรและกว้างประมาณ 0.4-0.5 มิลลิเมตร ผลไม่มีสัน
ผลโด่ไม่รู้ล้ม

สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม

  1. ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ด้วยการใช้รากต้มเป็นน้ำดื่ม หรือใช้ดองเหล้าดื่มผสมเข้ากับสมุนไพรกำลังเสือโคร่งและม้ากระทืบโรง หรือจะใช้ใบต้มกับน้ำดื่มก็ได้ และนอกจากนี้ยังใช้ทั้งต้นของโด่ไม่รู้ล้ม นำมาตากแห้งแล้วหั่นเป็นฝอยใช้ผสมเข้ายาร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ คือ ต้นนางพญาเสือโคร่ง ม้ากระทืบโรง ลำต้นฮ่อสะพายควาย สะค้าน ตานเหลือง มะตันขอ เปลือกลำ หัวยาข้าวเย็น แก่นฝาง ไม้มะดูก และข้าวหลามดง นำมาต้มเป็นน้ำดื่มเป็นยาบำรุงก็ได้เหมือนกัน (ราก, ใบ, ทั้งต้น)
  2. ช่วยบำรุงหัวใจ (ทั้งต้น)
  3. ลำต้นและใบใช้เป็นยาบำรุงเลือด เหมาะสำหรับสตรีที่มีประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ (ต้นและใบ)
  4. ช่วยทำให้อยากอาหาร (ต้นและใบ)
  5. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ใบ)
  6. ช่วยแก้กษัย (ทั้งต้น)
  7. ทั้งต้นมีรสกร่อนจืดและขื่นเล็กน้อย ใช้รับประทานช่วยทำให้เกิดกษัยแต่มีกำลัง (ทั้งต้น)
  8. ช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ ด้วยการใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก)
  9. ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)
  10. ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำรับประทาน ช่วยแก้ไข้จับสั่นหรือไข้มาลาเรียได้ (ทั้งต้น)
  1. ช่วยแก้ไข้ ด้วยการใช้รากโด่ไม่รู้ล้มนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้ราก ลำต้น ใบ และผล ต้มเป็นน้ำดื่มก็ได้เช่นกัน (ราก, ลำต้น, ใบ, ผล, ทั้งต้น)
  2. ใช้เป็นยาแก้ไอ ด้วยการใช้ต้นหรือรากต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไอ (ราก, ต้น, ใบ, ทั้งต้น)
  3. รากโด่ไม่รู้ล้มช่วยแก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด แก้อาการไอเรื้อรัง (ราก)
  4. รากใช้ต้มดื่มแก้อาเจียนได้ (ราก)
  5. ทั้งต้นใช้ต้มเป็นน้ำดื่มช่วยแก้อาการข้าวติดคอหรือกลืนอาหารฝืดคอได้ (ทั้งต้น)
  6. ใช้เป็นยาแก้วัณโรค (ทั้งต้น)
  7. ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  8. ช่วยแก้อาการตาแดง (ทั้งต้น)
  9. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ ด้วยการใช้ต้นแห้งประมาณ 6 กรัม นำมาแช่ในน้ำร้อนขนาด 300 cc. (เท่าขวดแม่โขง) ประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วรินเอาน้ำมาดื่มจะช่วยบรรเทาอาการได้ หรือจะใช้ต้นแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วปั้นเป็นเม็ดไว้รับประทานก็ได้เช่นกัน (ต้นแห้ง, ทั้งต้น)
  10. ช่วยรักษาแผลในช่องปาก ด้วยการใช้ต้นแห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มดื่มวันละครั้ง (ต้นแห้ง, ทั้งต้น)
  11. รากใช้ต้มกับน้ำนำมาอมช่วยแก้อาการปวดฟันได้ หรือใช้รากนำมาตำผสมกับพริกไทย (ราก)
  12. ช่วยห้ามเลือดกำเดาไหล เลือดกำเดาไหลง่าย ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 30-60 กรัม (ถ้าแห้งใช้ 10-15 กรัม) นำมาต้มกับเนื้อหมูแดงพอประมาณแล้วใช้รับประทานติดต่อกัน 3-4 วัน (ต้นสด, ทั้งต้น)
  13. รากและใบใช้ต้มเป็นยาดื่มช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก (รากและใบ)
  14. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ราก, ทั้งต้น)
  15. รากและใบช่วยแก้อาการท้องร่วง (รากและใบ)
  16. ช่วยแก้บิด (รากและใบ, ทั้งต้น)
  17. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (รากและใบ, ทั้งต้น)
  18. ช่วยแก้ท้องมานหรือภาวะที่มีน้ำในช่องท้องมากเกินปกติ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัม นำมาต้มกับดื่มเช้าเย็น หรือใช้ตุ๋นกับเนื้อแล้วนำมารับประทานก็ได้ (ต้นสด)
  19. ช่วยขับไส้เดือน พยาธิตัวกลม (ราก, ใบ, ทั้งต้น)
  20. ช่วยขับระดูขาวของสตรี (ราก,ทั้งต้น)
  21. รากมีสรรพคุณเป็นยาบีบมดลูก (ราก)
  22. รากใช้เป็นยาคุมกำเนิดสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ (ราก, ใบ)
  23. รากและใบใช้ต้มอาบน้ำหลังคลอดของสตรี (รากและใบ)
  24. ช่วยแก้นิ่ว ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 90 กรัม ต้มรวมกับเนื้อหมู 120 กรัม พร้อมใส่เกลือเล็กน้อย ต้มแล้วเคี่ยวกรองเอาแต่น้ำมาดื่ม เอากากออก แบ่งรับประทานเป็น 4 ครั้ง หรือจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มแก้อาการก็ได้เช่นกัน (ราก, ต้น, ทั้งต้น)
  25. ทั้งต้นมีรสกร่อยและขื่น ใช้เป็นยาช่วยขับปัสสาวะ (ราก, ใบ, ทั้งต้น)
  26. ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ (ทั้งต้น)
  27. ช่วยแก้อาการขัดเบา (อาการเริ่มต้นของทางเดินปัสสาวะอักเสบ) ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 15-30 กรัม ใช้ต้มกับน้ำดื่ม (ต้นสด)
  28. ช่วยรักษาตับและไตอักเสบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  29. ช่วยแก้กามโรค รักษาโรคบุรุษ (ราก, ใบ, ทั้งต้น)
  30. รากและใบช่วยแก้กามโรคในสตรี โดยใช้แบบสดหรือแห้งประมาณ 2 กำมือนำมาต้มเป็นน้ำดื่มแก้อาการ (รากและใบ)
  31. ช่วยบำรุงกำหนัด บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ด้วยการใช้รากต้มกับน้ำดื่ม (ราก, ใบ, ทั้งต้น)
  32. ช่วยขับน้ำเหลืองเสียออกจากร่างกาย (ทั้งต้น)
  33. ช่วยแก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 30 กรัม ต้มเป็นน้ำดื่ม (ต้นสด)
  34. ช่วยแก้ดีซ่าน ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 120-240 กรัม นำมาต้มกับเนื้อหมูแล้วใช้รับประทานติดต่อกัน 4-5 วัน (ต้นสด, ทั้งต้น)
  35. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ทั้งต้น)
  36. ช่วยแก้อาการอักเสบต่าง ๆ เช่น หลอดลมอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ลำไส้อักเสบ ฯลฯ (ราก, ทั้งต้น)
  37. ช่วยรักษาฝีบวม ฝีมีหนอง ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำผสมกับเกลือเล็กน้อย และละลายน้ำส้มสายชูพอข้น ๆ แล้วนำมาใช้พอกบริเวณที่เป็นฝี (ราก, ต้นสด, ทั้งต้น)
  38. ช่วยรักษาฝีฝักบัว ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 25 กรัม ใส่เหล้า 1 ขวด และน้ำ 1 ขวด แล้วนำมาต้มดื่ม และใช้ต้นสดต้มกับน้ำเอาน้ำมาชะล้างบริเวณหัวฝีที่แตก (ต้นสด)
  39. ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย แผลงูกัด (ทั้งต้น)
  40. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ นำมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่มีอาการ (ใบสด)
  41. ช่วยรักษาบาดแผล ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ นำมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว แล้วนำมาทาแผล (ใบ)
  42. ช่วยแก้อาการเหน็บชา ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 30-60 กรัมและเต้าหู้ประมาณ 60-120 กรัม แล้วเติมน้ำพอประมาณ ใช้ตุ๋นรับประทาน (ต้นสด, ทั้งต้น)
  43. ช่วยแก้อาการปวดบวม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  44. ช่วยคลายเส้น ด้วยการใช้รากนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม (ราก)
  45. รากใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้อาการปวดหลังปวดเอวได้ หรือจะใช้รากต้มร่วมกับลุบลิบก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ใบต้มกับน้ำดื่มร่วมกับเหงือกปลาหมอก็ได้เช่นกัน (ราก, ใบ)
  46. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายกาย ด้วยการใช้รากต้มเป็นน้ำดื่ม หรือใช้ดองเหล้าดื่มผสมเข้ากับสมุนไพรกำลังเสือโคร่ง ม้ากระทืบโรงก็ได้เช่นกัน (ราก)
  47. รากใช้เป็นส่วนประกอบในยาสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ที่มีสรรพคุณช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดงสำหรับผู้ป่วยเอดส์ โดยประกอบด้วย โด่ไม่รู้ล้ม ม้ากระทืบโรง หงอนไก่อู และหงอนไก่แจ้ นำมาต้มเป็นน้ำดื่ม แต่ถ้าเป็นคนปกติดื่มแล้วจะช่วยบำรุงกำลัง (ราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของสมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม

  • โด่ไม่รู้ล้มมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อไวรัส ช่วยลดไข้ ลดอาการอักเสบ ช่วยต้านความเป็นพิษต่อตับ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก และช่วยกระตุ้นมดลูก
ข้อห้าม ! : ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์ รวมไปถึงผู้ที่มีอาการกลัวหนาว แขนขาเย็น ชอบดื่มของร้อน ไม่กระหายน้ำ มีอาการปวดท้อง ท้องร่วง และปัสสาวะปริมาณมาก และมีชั้นฝ้าบนลิ้นขาวและหนา

ประโยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม

  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับประจำบ้านเพื่อความสวยงาม
  • มีความเชื่อว่าการปลูกว่านโด่ไม่รู้ล้มไว้ประจำบ้านจะช่วยป้องกันเสนียดจัญไรได้
  • สามารถนำไปแปรรูปเป็นยาสมุนไพรในรูปแบบต่าง ๆ เช่น โด่ไม่รู้ล้มผงสำเร็จรูป ยาดองเหล้าโด่ไม่รู้ล้ม ยาโด่ไม่รู้ล้ม โด่ไม่รู้ล้มแคปซูล เป็นต้น
https://medthai.com/%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A1/