หน้าเว็บ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม


วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

หญ้าไผ่น้ำ จุยเตกเฉ้า ฮวยเฮียะตะเจี่ยเฉ้า รักษาโรคไต

สรรพคุณ
หญ้าไผ่น้ำ รักษาโรคไต ช่วยในเรื่องระบบปัสสาวะ
และระบบไต 
หญ้าไผ่น้ำ แบบแห้ง 40กรัม 150 บาท ไม่รวมค่าขนส่ง











แก้พิษงูกัด บำบัดอาการต่อมลูกหมากโต วิธีต้มหญ้าไผ่น้ำ หญ้าไผ่น้ำประมาณ 100-150 กรัม ล้างน้ำ ใส่หม้อต้ม  เติมน้ำสะอาด 2 ลิตร ต้มให้เดือดแล้วหรี่ไฟอ่อน ต้มต่อไปประมาณ 1 ชั่วโมง  ตักเอาหญ้าไผ่น้ำออก จะเห็นน้ำใส เป็นสีบานเย็นอ่อน วางไว้ให้เย็น ใส่ขวดดื่มแทยน้ำ ทุกเวลา วันละ 3-4 แก้ว

เป็นยาขับน้ำ แก้บวมน้ำ แก้ร้อนใน โรคเบาหวาน ไต กรวยไตอักเสบ ลดการอับเสบของทางเดินปัสสาวะ ท่อปัสสาวะอักเสบ และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ทาหรือพอกภายนอกแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ฝีกาฬ ฝีฝักบัว ฝีหนองต่างๆ บรรเทาอาการปวดบวมจากพิษฝี

ชาวจีน เชื่อถือในสรรพคุณของหญ้าไผ่นํ้ามากมีผู้เป็นโรคไตขนาดต้องฟอกไตเป็นประจำ นำเอาหญ้าไผ่นํ้าไปต้มนํ้าดื่มวันละแก้วใหญ่ ติดต่อกัน 6 เดือน อาการของโรคไตหายได้โดยไม่ต้องฟอกไต

อัตราส่วนในการต้มดื่ม ต้นหญ้าไผ่นํ้า สดๆ250 กรัม นํ้าเยอะหน่อย ต้มจนเดือดเคี่ยว  1 ชั่วโมง 
เทดื่มตอนอุ่นๆวันละแก้ว  ตอนไหนก็ได้ 
กินติดต่อกัน 3 เดือน อาการจะดีขึ้น กินต่อไปอีก 3 เดือน จะหายขาด 

หญ้าไผ่น้ำ  ชอบความชุ่มชื้น  น้ำไม่ขัง หน้าฝนโตเร็ว 
ขยายพันธุ์โดย ปักชำลงในดิน   2 อาทิตย์ จะมีรากงอกออกมาที่ก้านตามข้อ 

  

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

บัวกระด้ง วิคตอเรีย

เมล็ดบัวกระด้ง

บัววิคตอเรีย

ราคา 10 เม็ด 150 บาทค่าส่ง 50 บาท โอนเงิน
0809898770

ต้นเพาะขึ้นแล้ว ต้นละ 100 บาท ค่าส่งครั้งละ 100 บาท/ครั้ง















การปลูกบัวกระด้งด้วยการเพาะเมล็ด 
  • นำดินเลนดินโคลนมาใส่กระถางที่ไม่มีรูระบายน้ำ 
  • ใส่น้ำให้สูงจากดินประมาณ  5-10  ซม.
  • เอาเมล็ดบัววางบนผิวของดินโคลนโดยไม่ต้องกดเมล็ดให้จมวางบนหน้าดินเลนนั่นละ
  • นำกระถางเพาะไปวางไว้ที่มีแดดส่องถึงรำไร จนเมล็ดงอก รอจนใบมีขนาดเท่ากับใบมะนาว
  • แยกใส่กระถาง ๆละ  1 ต้น โดยใส่ดินโคลน2ส่วน น้ำ1ส่วน
  • เลี้ยงหรือปลูกประมาณ 1 เดือน จนใบบัวมีขนาดประมาณเท่าจานข้าวจึงนำไปปลูกในแหล่งน้ำสะอาดที่มีขนาดใหญ่ต่อไป 

.

การปลูกลงสระหรือบ่อ 

วิธีที่1..ปลูกในที่ควบคุมระดับน้ำได้ 

วิดน้ำในบ่อ ให้เหลือประมาณ30 ซมแล้วนำบัวที่อยู่ในกระถางลงปลูก โดยต้องเอากระถางออก 
ปลูกประมาณ 7 วัน ค่อยๆเพิ่มระดับน้ำทีละน้อย เพื่อให้ใบบัวยืดก้านหนีน้ำทัน จนได้ความลึกประมาณ 0.5-2เมตร 
จากนั้นประมาณ 3 เดือน บัวจะโตเต็มที่ คนสามารถลงไปยืนได้
.

วิธีที่ 2 ..การปลูกโดยน้ำเยอะอยู่แล้ว  ที่ๆไม่สามารถควบคุมระดับน้ำได้

นำบัวที่อยู่ในกระถางลงไปวางไว้ขอบบ่อ ให้ใบจมน้ำเห็นใบรำไรประมาณ 2-3 วันบัวจะยืดก้านใบขึ้นมาทุกใบ 
หลังจากนั้นประมาณ1อาทิตย์ ให้ขยับกระถางให้ลึก ลงอีกให้เห็นใบรำไรเหมือนครั้งแรก ทำอย่างนี้จนได้ระดับที่เราต้องการ (0.5-2เมตร) จึงค่อยนำบัวออกจากกระถางปลูกต่อไป

หมายเหตุ การขยับกระถางหรือการเพิ่มระดับน้ำต้องทำทีละน้อย ไม่เช่นนั้นบัวจะตายเพราะยืดก้านไม่ทัน ในแหล่งน้ำทีมีปลากินพืชสามารถปลูกได้ แต่ปลาต้องไม่เยอะเกินไป หรือปลาต้องได้รับอาหารเพียงพอถึงจะไม่มากัดกินบัวของเรา











วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เมล็ดปี่แป้- โลโคท โลควอท

เมล็ดปี่แป้
ราคา10เม็ด 150 บาท
ค่าส่งครั้งละ 50 บาท ถ้าเก้บปลายทาง เพิ่มอีก 40 บาท
......
พืชที่ชอบอากาศร้อน

เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ลำต้นตรง ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ผิวใบด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีเกล็ดสีน้ำตาลแดง หูใบแบน ดอกช่อ ปกคลุมด้วยขนสั้นๆสีน้ำตาลแดง ไม่มีก้านดอก มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมีขนละเอียดปกคลุม ผลรูปกลมหรือรูปไข่สีเหลืองอ่อนหรือสีส้ม มีขนปกคลุม เปลือกผลฉ่ำน้ำ เมล็ดยาว สีน้ำตาลดำ
ถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน กระจายพันธุ์ในจีนและญี่ปุ่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกเฉพาะในที่สูง ผลมีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานสด ทำแยมหรือเยลลี่ เมล็ดมีรสชาติคล้ายอัลมอนด์ น้ำคั้นจากผลใช้ทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในแอฟริกาตะวันออกใช้เนื้อไม้ทำเครื่องดนตรี ใบมีแทนนิน รสฝาด ใช้แก้อาการท้องเสียและเป็นยาระบาย ผลมีเพกติน มีโพแทสเซียมสูงแต่มีวิตามินซีต่ำ ในตำรายาจีนเรียกผีผาเย่ (ภาษาจีนกลาง) หรือปีแปะเฮียะ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใบใช้เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ[2]

คุณค่าทางอาหาร

โลควอทมีวิตามินเอ ไฟเบอร์ โพแทสเซียมและแมงกานีสสูง มีโซเดียมและไขมันอิ่มตัวต่ำ [3] เมล็ดและใบอ่อนมีพิษ มีไซยาโนจีนิกไกลโคไซด์ที่จะปล่อยไซยาไนด์ออกมาได้เมื่อถูกย่อย แม้จะมปริมาณต่ำและทำให้มีรสขม




Eriobotrya Japonica

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เมล็ดฝาง ต้นฝาง

ข้อมูลจาก
https://medthai.com/%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%87/

เมล้ดฝาง เม็ดละ 2 บาท ค่าส่งด่วน ครั้งละ 40 บาท
กี่เมมล็ดก็ส่ง 0809898770













สรรพคุณของฝาง

  1. เนื้อไม้และแก่นเป็นยาแก้ธาตุพิการ (เนื้อไม้, แก่น)[1],[3],[5]
  2. เมล็ดแก่แห้งนำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูงหรืออาจบดเป็นผงกินก็ได้ (เมล็ด)[8]
  3. เปลือกลำต้นและเนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ต้มรับประทานเป็นยารักษาวัณโรคได้ (เปลือกต้น, เนื้อไม้)[11]
  4. ตำรับยาบำรุงร่างกายทั้งบุรุษและสตรี แก้ประดง ระบุให้ใช้แก่นฝาง แก่นไม้แดง รากเดื่อหอมอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกิน (แก่น)[16]
  5. ตำรับยาบำรุงกำลังระบุให้ใช้แก่นตากแห้งผสมกับเปลือกต้นนางพญาเสือโคร่ง ตานเหลือง ข้าวหลามดง โด่ไม่รู้ล้มต้มน้ำ ม้ากระทืบโรง มะตันขอ ไม้มะดูก หัวข้าวเย็น และลำต้นฮ่อสะพายควาย ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย (แก่น)[8] หรืออีกตำรับระบุให้ใช้แก่นฝาง กำลังช้างสาร ม้ากระทืบโรง และรากกระจ้อนเน่าอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำดื่ม และอีกตำรับระบุให้ใช้แก่นฝาง 1 บาท, ดอกคำไทย 2 สลึงนำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เอา 1 แก้ว ใช้แบ่งกินเช้า, เย็นเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย และแก้กษัย (แก่น)[16]
  6. ตำรับยาแก้กษัยระบุให้ใช้แก่นฝาง เถาวัลย์เปรียง และรากเตยอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำกิน หรืออาจเติมน้ำตาลให้พอหวานเพื่อช่วยทำให้รสชาติดีขึ้นด้วยก็ได้ (แก่น)[16]
  7. แก่นฝางมีรสฝาด เค็ม ชุ่ม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิตและใช้ปรุงเป็นยาบำรุงโลหิตของสตรี (แก่น)[1],[2],[3],[4],[5]
  8. ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก แก้เส้นเลือดอุดตัน กระจายเลือดที่อุดตัน แก้อาการหัวใจขาดเลือด ทำให้จุกเสียดแน่นและเจ็บหน้าอก (แก่น)[1],[7]
  9. ช่วยแก้โลหิต แก้ไข้กำเดา แก้กำเดา ทำให้โลหิตเย็น (แก่น)[1],[3],[5]
  10. แก่นใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้ตัวร้อน (แก่น)[1],[16] ตำรับยาแก้ไข้ตัวร้อน ระบุให้ใช้แก่นฝาง 70 กรัม, ผงโกฐน้ำเต้า 30 กรัม, และน้ำประสานทองบดเป็นผง 15 กรัม นำมารวมกันต้มให้เป็นน้ำเหลวแล้วเติมเหล้าเข้าผสม ใช้กินครั้งละ 30 ซีซี วันละ 2 ครั้ง (แก่น)[7] บ้างว่าใช้แก้ไข้สัมประชวรได้ด้วย (แก่น)[14]
  1. ตำรับยาแก้ไข้ทับระดูระบุให้ใช้ฝางเสน เกสรบัวหลวง แก่นสน รากลำเจียก รากมะพร้าว รากมะนาว รากเท้ายายม่อม รากย่านาง ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกสารภี จันทน์ขาว จันทน์แดง สักขี อย่างละ 1 บาท นำมาบดให้เป็นผงชงกับน้ำร้อน ใช้จิบครั้งละ 1 ช้อนชา โดยให้จิบบ่อย ๆ จนกว่าไข้จะสงบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[19]
  2. น้ำต้มแก่นฝางช่วยแก้อาการร้อนใน แก้กระหายน้ำได้ดี (แก่น)[1],[3],[5]เนื้อไม้มีสรรพคุณแก้ร้อนใน (เนื้อไม้)[1]
  3. แก่นและเนื้อไม้มีสรรพคุณแก้เสมหะ ขับเสมหะ (เนื้อไม้, แก่น)[1],[3],[4],[5]
  4. ช่วยแก้อาการไอ แก้หวัด (แก่น)[2],[16] ตามตำรับยาระบุให้ใช้แก่นฝางหนัง 3 บาท, ตะไคร้ 3 ต้น ทุบให้ละเอียด, น้ำ 1 ลิตร ใส่น้ำปูนใสเล็กน้อยแล้วต้มพอให้ได้น้ำยาสีแดง ใช้รับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลา หรืออาจผสมน้ำตาลกรวดด้วยก็ได้ (แก่น)[16] ส่วนอีกตำรับยาหนึ่งซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไอ ไอแบบเป็นหวัดและเจ็บคอ ไอแบบคอแห้ง หรือไอแบบหอบหืด และผู้ที่ไอจากวัณโรคก็บรรเทาได้เช่นกัน รวมไปถึงอาหารปอดหรือหลอดลมอักเสบก็จิบยาแก้ไอขนานนี้ได้ โดยตำรับยาแก้ไอฝาง ประกอบไปด้วยเนื้อไม้ฝาง 200 กรัม, พริกไทยร่อน 200 กรัม, กานพลู 50 กรัม, สารส้ม 50 กรัม, การบูร 25 กรัม, เมนทอล 25 กรัม, เปลือกหอยแครงแล้วทำเป็นปูนขาว 15 กรัม, ดีน้ำตาลหรือใช้น้ำตาล 2.5 กรัม และน้ำสะอาด 5 ลิตร ส่วนวิธีการปรุงยาให้นำเนื้อไม้ฝางมาสับเป็นซี่เล็ก ๆ คล้ายไม้จิ้มฟัน แล้วนำไปต้มกับน้ำให้เดือดประมาณ 15-30 นาที และสำหรับส่วนผสมอื่น ๆ ให้นำมาตำให้ละเอียด เก็บใส่ไว้ในโหลก่อน จากนั้นนำน้ำยาต้มฝางที่รอจนอุ่นแล้วมาทาใส่ลงในโหลที่มีตัวยาอื่น ๆ ผสมอยู่ และให้แช่ยานี้ไว้ประมาณ 2-3 วัน (คนยาวันละ 3 ครั้ง) เมื่อครบวันแล้วให้กรองเอาเฉพาะน้ำยามาเก็บไว้ใส่ขวดที่สะอาด เก็บไว้จิบกินตอนมีอาการไอ (ยาแก้ไอฝางสูตรนี้ไม่ควรกินต่อเนื่องกันนานจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้มีอาการมึนศีรษะและมีความดันต่ำได้ ดังนั้นเมื่อกินจนอาการไอหายแล้วก็ให้หยุดกิน) (เนื้อไม้)[17]
  5. ช่วยแก้โรคหืดหอบได้ด้วย (แก่น)[11],[14] ตามตำรับยาระบุให้ใช้แก่นฝางเสน, แก่นแสมสาร, เถาวัลย์เปรียง, ใบมะคำไก่ อย่างละ 2 บาท 2 สลึง ใส่น้ำพอท่วมยา แล้วต้มให้เดือด 10 นาที นำมากินต่างน้ำให้หมดภายในวันนั้น พอวันต่อมาให้เติมน้ำเท่าเดิม ต้มเดือด 5 นาทีแล้วกินเหมือนวันแรก ต้มกินจนยาจืดประมาณ 5 วัน แล้วค่อยเปลี่ยนยาใหม่ โดยให้ต้มกินไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหาย (แก่น)[16]
  6. ช่วยแก้ปอดพิการ (แก่น)[1],[3],[4],[5]
  7. ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน ใช้ฝาดสมานโรคท้องร่วง ตำรายาไทยระบุให้ใช้แก่นฝางหนัก 3-9 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 500 มิลลิเมตร แล้วเคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง ใช้ดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง หรือจะใช้ฝาง 1 ส่วนต่อน้ำ 20 ส่วน นำไปต้มเคี่ยว 15 นาที ใช้รับประทานครั้งละ 2-4 ช้อนโต๊ะหรือ 4-8 ช้อนแกงก็ได้เช่นกัน (เนื้อไม้, แก่น)[1],[2],[3],[5],[6],[8] ส่วนน้ำมันหอมระเหยมีสรรพคุณเป็นยาสมานอย่างอ่อน แก้อาการท้องเดิน (น้ำมันระเหย)[9]
  8. ช่วยแก้บิด (แก่น)[1],[7]
  9. ใช้เป็นยาสมานลำไส้ (แก่น)[1],[7]
  10. แก่นนำมาต้มกินเป็นยารักษาโรคนิ่วร่วมกับแก่นต้นคูน รากมะเดือยหิน หญ้าถอดปล้อง และใบสับปะรด (แก่น)[8]
  11. ช่วยแก้ปัสสาวะขุ่นข้น ด้วยการใช้แก่นฝาง เถาวัลย์เปรียง และรากเตย อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำกิน หรืออาจเติมน้ำตาลให้พอหวานเพื่อช่วยทำให้รสชาติดีขึ้นด้วยก็ได้ (แก่น)[16]
  12. ช่วยแก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา ช่วยแก้โลหิตตกหนัก (เนื้อไม้, แก่น)[1],[3],[5]
  13. ฝางนิยมใช้เข้าตำรับยาบำรุงโลหิต ฟอกโลหิตในกลุ่มยาสตรี เนื่องจากช่วยทำให้เลือดดี เช่น ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี ด้วยการใช้ฝางเสนหนัก 4 บาทและแก่นขี้เหล็ก 2 บาท นำมาต้มกินก่อนประจำเดือนจำมา จะช่วยทำให้ประจำเดือนไม่เน่าเสียและมาสม่ำเสมอ ช่วยแก้พิษโลหิตร้าย เป็นยาขับประจำเดือน และบำรุงโลหิต (แก่น)[19]
  14. แก่นใช้เป็นยารักษาอาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี ช่วยขับระดู (แก่น)[1],[4],[5],[7] ส่วนเนื้อไม้เป็นยาขับระดูอย่างแรง (เนื้อไม้)[1],[3] ตำรายาแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนปิดกั้นไม่มา ให้ใช้แก่นฝาง 70 กรัม, ผงโกฐน้ำเต้า 30 กรัม และน้ำประสานทองบดเป็นผง 15 กรัม นำมารวมกันต้มให้เป็นน้ำเหลว แล้วเติมเหล้าเข้าผสม ใช้ดื่มครั้งละ 30 ซีซี วันละ 2 ครั้ง (แก่น)[7] ส่วนอีกตำราระบุให้ใช้แก่น 5-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เติมเนื้อมะขามเปียกที่ติดรก (ไม่รวมเมล็ด) ประมาณ 4-6 ฝัก แล้วนำไปเคี่ยวจนเหลือ 1 แก้ว ใช้กินเช้าและเย็น (แก่น)[8] และอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าเปลือกลำต้นและเนื้อไม้ เป็นยาแก้ท้องเสียและแก้อาการอักเสบในลำไส้ (เปลือกต้น, เนื้อไม้)[11]
  15. ช่วยลดอาการปวดมดลูกของสตรีหลังการคลอดบุตร (แก่น)[1],[7]
  16. ช่วยคุมกำเนิด (แก่น)[14]
  17. ช่วยแก้ดีและโลหิต (เนื้อไม้)[1]
  18. ช่วยขับหนอง ขับหนองในฝีอักเสบ (แก่น)[1],[7]
  19. ช่วยแก้คุดทะราด (แก่น)[2]
  20. ช่วยรักษามะเร็งเพลิง (แก่น)[14]
  21. ใช้เป็นยาฝาดสมานและรักษาแผล (เปลือกต้น, เนื้อไม้)[11]
  22. แก่นฝางนำมาฝนกับน้ำใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนังบางชนิดและฆ่าเชื้อโรคได้ (แก่น)[1],[3],[6]
  23. ช่วยแก้น้ำกัดเท้า ด้วยการใช้แก่นฝาง 2 ชิ้นนำมาฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ๆ แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่น้ำกัดเท้า จะช่วยฆ่าเชื้อและสมานแผลได้ (แก่น)[2],[8]
  24. แก่นใช้เป็นยาแก้ปวด แก้บวม ปวดบวม แก้ฟกช้ำดำเขียว แก้ช้ำใน (แก่น)[1],[7],[10] ตำรายาแก้ฟกช้ำ ระบุให้ใช้แก่นฝาง 60 กรัม นำมาบดเป็นผงผสมกับเหล้า แบ่งกิน 3 ครั้ง ใช้กินตอนท้องว่าง (แก่น)[7]
  25. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (แก่น)[1] ตามตำรายาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายระบุให้ใช้แก่นฝาง 70 กรัม, ผงโกฐน้ำเต้า 30 กรัม และน้ำประสานทองบดเป็นผง 15 กรัม นำมารวมกันต้มให้เป็นน้ำเหลว แล้วเติมเหล้าเข้าผสม ใช้รับประทานครั้งละ 30 ซีซี วันละ 2 ครั้ง (แก่น)[7]
  26. กิ่งนำมาตัดเป็นท่อน ๆ นำไปตากแห้ง แล้วนำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดหลังปวดเอว (กิ่ง)[8]
  27. เนื้อไม้ใช้เป็นส่วนผสมหลักในตำรับยาบำรุงหลังการคลอดบุตรของสตรี (เนื้อไม้)[1]
  28. เนื้อไม้ใช้ผสมกับปูนขาว นำมาบดใช้ทาหน้าผากสตรีหลังการคลอดบุตรจะช่วยทำให้เย็นศีรษะ และช่วยลดอาการเจ็บปวด (เนื้อไม้)[1]
  29. ตำรายาพระโอสถพระนารายณ์เป็นตำรับยาที่ใช้แก้ความผิดปกติของอาโปธาตุหรือธาตุน้ำ โดยประกอบไปด้วยเครื่องยา 2 สิ่ง คือ ฝางเสนและเปลือกมะขามป้อมอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำ 4 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน ใช้กินเป็นยาแก้อาการท้องเสียอย่างแรงและเป็นยาแก้บิด (แก่น)[2]
  30. นอกจากนี้ยังใช้ฝางในการรักษาโรคอีกหลายชนิด เช่น โรคประดง โรคไต ไข้หวัด แก้ไอ หอบหืด ขับปัสสาวะ และฝางยังเป็นสมุนไพรที่ปรากฏอยู่ในตำรับยาโบราณมากที่สุดชนิดหนึ่ง เช่น ยาหอมอินทจักร ยาจันทลีลา อยู่ในตำรับยาบำรุงโลหิตต่าง ๆ รวมไปถึงตำรับยาบำรุงโลหิตของสตรีจะขาดฝางเสียไม่ได้[16]
...............................................

ประโยชน์ของฝาง

  1. ชาวเมี่ยนจะใช้กิ่งแก่นำไปต้มกินเป็นน้ำชา[8]
  2. ในปัจจุบันมีการนำมาแปรรูปเป็นน้ำดื่มสมุนไพรฝาง มีทั้งในรูปแบบพร้อมดื่มและแบบชง โดยช่วยบรรเทาอาการร้อนใน แก้เสมหะ บำรุงโลหิต แก้เลือดกำเดา[10]
  3. แก่นไม้เมื่อนำมาต้มกับน้ำดื่มผสมกับใบเตยหรือผลมะตูม จะช่วยให้มีสีสันสวยงาม[8]
  4. น้ำต้มจากแก่นฝางแดงจะให้สีแดงที่เรียกว่า Sappanin นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมหลักของน้ำยาอุทัย ผสมในน้ำดื่ม สีผสมอาหาร และนิยมนำมาย้อมสีผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าขนสัตว์[1],[4],[10] ส่วนฝางส้มจะนำมาต้มสกัดสาร Haematexylin ใช้ย้อมสีนิวเคลียสของเซลล์[10]
  5. นอกจากจะใช้เนื้อไม้ในการย้อมสีแล้ว ยังนำมาทำเป็นสีทาตัวสำหรับงานเทศกาลในอินเดียอีกด้วย ซึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาเนื้อไม้ของต้นฝางถือเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ เป็นเครื่องบรรณาการอย่างหนึ่ง รวมทั้งเคยเป็นสินค้าผูกขาดของรัฐอย่างหนึ่ง[11]
  6. รากของต้นฝางจะให้สีเหลืองที่ใช้ทำสีย้อมผ้าและไหมได้ หรืออาจใช้เป็นสีผสมอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ก็ได้[1]
  7. ภูมิปัญญาชาวบ้านจะใช้แก่นของต้นฝาง (ที่เหลาเป็นไม้จิ้มฟัน) ไปตอกลงบนต้นขนุนจนถึงเนื้อไม้ จะไปกระตุ้นให้ขนุนติดลูกบริเวณที่เราตอกลงไป[12]
  8. เนื้อไม้นำมาใช้ทำเป็นเครื่องเรือนชั้นดี ตกแต่งชักเงาได้ดี โดยสีของเนื้อไม้จะออกแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม[8],[10]
  9. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา (เป็นไม้ที่ให้ร่มเงาขนาดเล็ก) แต่ต้องหมั่นตัดกิ่งที่เลื้อยพันออกเพื่อให้เป็นทรงตามต้องการ เมื่อออกดอกจะออกดอกดกสีเหลืองงามอร่ามเด่นชัด และยังนิยมปลูกเป็นแนวรั้วบ้านตามชนบท[6],[8],[10]

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรฝาง

  • ฝางมีฤทธิ์เป็นยาขับประจำเดือน ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด จึงไม่ควรนำไปใช้กับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์[16]


วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ไม้จันทน์สีขาว, ไม้จันทน์อินเดีย

ไม้จันทน์สีขาว, ไม้จันทน์อินเดีย
35 เมล็ดละ 350 บาท  รวมส่งโอนก่อน









santalum album

เมล็ด กฤษณา สำหรับปลูก

เมล็ด กฤษณา สำหรับปลูก

ราคา 10เมล็ด 350 บาท รวมส่ง ลงทะเบียน
0809898770
.................
สำหรับกล้า ผมจะทำช่วง กพ -เมษา ของทุกปีครับ น่าจะมีช่วงนั้น
ราคา ก็ 250-500 บาทแล้วแต่ขนาดครับ














การเพาะเมล็ด

  • นำเมล็ดแช่น้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 35-40 องศาเซลเซียส  คนให้ทั่ว ประมาณ 5 นาที
  • ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที เมล็ดที่ ลอยให้ตักออกเพราะเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ หลังจากนั้นให้เท น้ำทิ้ง
  • เตรียมดินเพาะเมล็ดควรใช้ดินร่วนปนทรายใส่ลงในกระบะ  ที่น้ำถ่ายเทสะดวก
  • รดน้ำที่ผสม ยากันเชื้อรา ลงในดินที่เตรียมไว้
  • รดน้ำให้ชุ่ม
  • นำเมล็ด ทิ่มด้านปลายแหลมลงดินที่ ไม่ต้องรดน้ำ แล้วนำสแลนทาบปิดเพื่อป้องกันแมลงรบกวน 
  • ประ มาณ 10 วันเมล็ดจะเริ่มงอกซึ่งจะนำลงถุงต่อไป
  • การลงถุง
  • รดน้ำที่ผสมยาฆ่าแมลงลงในดินที่ใส่ถุง ที่เตรียม ว้ให้ชุ่ม
  • ใช้ไม้แหลมประมาณ 2-3 หุน แทงลงในดินที่ใส่ ถุง
  • วางเมล็ดที่เป็นถั่วงอกด้านที่เป็นรากใส่ลงไป กดดินให้แน่น
  • จากนั้นรดน้ำบางๆอีกครั้ง
  • เมื่อหยอดเมล็ดครบแล้วใช้พลาสติกใสคลุมลงลักษณะโค้งครึ่งวงกลมเพื่อเมล็ดที่งอกออกมาเสมอโตเท่าๆกัน 
  • หลังจากนั้น ประมาณ 10 วัน เอาพลาสติกออกรดน้ำให้ชุ่มอีกครั้ง
  • เมื่อกล้าไม้อายุประมาณ 1 เดือน ควรใช้ปุ๋ยคอกหรือขี้วัว (ห้ามใช้ปุ๋ยเคมีทุกชชนิด) หมักทิ้งไว้ 1 คืน 
  • จึงนำน้ำมารดให้กับกล้าไม้  จะทำให้กล้าไม้ โตเร็วมาก


Aquilaria Sinensis

กฤษณา เป็นน้ำมันหรือยางที่สร้างขึ้นในเนื้อไม้ของพืชในสกุล Aquilaria ซึ่งมีหลายชนิด ที่สำคัญและพบในไทย มี 2 ชนิด ได้แก่ Aquilaria malaccensis Lam. (ชื่อพ้อง Aquilaria agallocha Roxb.) และ Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte ประโยชน์ของกฤษณา ชาวอาหรับนิยมนำมาเผาไฟเพื่ออบห้องให้มีกลิ่นหอม น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากเนื้อไม้ จะนำมาใช้เป็นน้ำหอม ใช้ปรุงแต่งกลิ่นหอมในอุตสาหกรรมน้ำหอม เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ผงกฤษณาใช้โรยบนเสื้อผ้าหรือร่างกายเพื่อฆ่าเหาและหมัด ในยาพื้น บ้านของอินเดียและหลายประเทศในเอเซีย ใช้เป็นส่วนผสมในยาหอม ยาบำรุง ยากระตุ้นหัวใจ และยาขับลม
สรรพคุณแผนโบราณของกฤษณาจากต้น Aquilaria agallocha ใช้เนื้อไม้ บำรุงโลหิตในหัวใจ บำรุงตับและปอด แก้ลมซาง ลมอ่อนเพลีย ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ไข้ บำรุงโลหิต แก่นไม้ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับและปอด น้ำมันจากเมล็ด รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน แก้มะเร็ง
สำหรับข้อมูลรายงานวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่า กฤษณา (Aquilaria crassna) มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านอนุมูลอิสระ ต้านความเป็นพิษต่อหัวใจ ช่วยระบาย เป็นต้น ส่วนกฤษณา (Aquilaria agallocha) มีฤทธิ์แก้ปวด ลดการอักเสบ ต้านการชัก ทำให้สงบ ช่วยระบาย ฆ่าแมลง เป็นต้น มีงานวิจัยว่าสารสกัดน้ำของกฤษณา สามารถลดความดันในแมวได้ อย่างไรก็ตามงานวิจัยเกี่ยวกับกฤษณายังมีน้อย ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในสัตว์ทดลอง และยังไม่มีงานวิจัยในคน จึงควรใช้ความระมัดระวังในการรับประทาน หากอยากได้รายละเอียดของงานวิจัย สามารถสืบค้นได้ที่สำนักงานโดยตรง ซึ่งจะมีค่าบริการค่ะ
ส่วนการรับรองเป็นยานั้น ยังไม่มีการรับรองการใช้กฤษณาเป็นยาในสมุนไพรเดี่ยว แต่มีการรับรองว่ากฤษณาเป็นส่วนประกอบในตำรับยาหอมเทพจิตร ซึ่งมีสมุนไพรชนิดอื่นๆร่วมอยู่ด้วยในตำรับ ตามบัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2549 ประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยาของไทย

เอกสารอ้างอิง :
ฐาน PHARM
หนังสือสมุนไพรไม้พื้นบ้านเล่ม 1
หนังสือคู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 2 เครื่องยาพฤกษวัตถุ
บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2549