หน้าเว็บ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม


วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ผักเชียงดา

ผักเชียงดา
ราคา 50 บาท ขั้นต่ำ 5 ต้น (ไม่รวมส่ง)




ต้นผักเชียงดา
  •  
ใบผักเชียงดา
ดอกผักเชียงดา
ผลผักเชียงดา
ผักเชียงดา
ผักเชียงดา ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnema inodorum (Lour.) Decne. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)[1],[4]


ผักเชียงดา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เชียงดา, เจียงดา, ผักเจียงดา, ผักเซียงดา, ผักกูด, ผักจินดา, ผักเซ่งดา, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักว้น, ผักฮ่อนไก่, ผักอีฮ่วน, เครือจันปา เป็นต้น[3],[4],[6],[7],[10]

ลักษณะของผักเชียงดา
ต้นผักเชียงดา จัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุข้ามปี ความยาวของเถาขึ้นอยู่กับอายุ ลำต้นเป็นสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ทุกส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นจะมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี เป็นผักพื้นบ้านที่ชาวเหนือในแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา นิยมปลูกไว้หน้าบ้านเพื่อนำยอดไปประกอบอาหาร[1],[2],[3] ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน และแอฟริกา[6]
ต้นผักเชียงดา

ใบผักเชียงดา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากข้อเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปกลมรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 9-11 เซนติเมตร และยาวประมาณ 14.5-18.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีอ่อนกว่า ผิวใบเรียบไม่มีขน ก้านใบยาวประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร[1],[2]
ใบผักเชียงดา

ดอกผักเชียงดา ออกดอกเป็นช่อแน่นสีขาวอมเขียวอ่อน ดอกย่อยมีขนาดเล็กกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร[4]
ดอกผักเชียงดา

ผลผักเชียงดา ออกผลเป็นฝัก[4]
ผลผักเชียงดา

สรรพคุณของผักเชียงดา
ผักเชียงดามีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ ช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง และการเสียของ DNA ข้ออักเสบรูมาตอยด์และเกาต์[2]
ผักเชียงดามีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ[2] และชาวบ้านยังนิยมกินผักเชียงดาหน้าร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกายอีกด้วย[6]
หมอยาพื้นบ้านในจังหวัดจะใช้ผักเชียงดาเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยอันเนื่องมาจากการทำงาน[7]
ช่วยทำให้เจริญอาหาร[4]
ช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย[8]

ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล ช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อน ด้วยการนำผักเชียงดามาปรุงเป็นอาหารรับประทาน[1],[4],[8] จากการศึกษาพบว่า การรับประทานผงผักเชียงดาก่อนอาหารประมาณวันละ 8-12 กรัม (แบ่งการรับประทานเป็น 3 มื้อ มื้อละ 4 กรัม) จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานให้เป็นปกติได้ หรือจะรับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด ก็สามารถช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวานได้เช่นกัน[5]
ช่วยควบคุมและปรับระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ[8]
ช่วยลดและควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายให้สมดุล[8]
ผักเชียงดาสามารถนำไปใช้ลดน้ำหนักได้ เพราะผักชนิดนี้สามารถช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีรายงานว่า ผักเชียงดาสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง[10]
ผักเชียงดามีสรรพคุณช่วยบำรุงสายตา แก้ตาฝ้าฟาง มีอาการเคืองตา เนื่องจากผักชนิดนี้มีวิตามินสูง[1]
ช่วยแก้หูชั้นกลางอักเสบ (ต้น)[9]
ใบนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณกระหม่อมเพื่อรักษาไข้ อาการหวัด ปรุงเป็นยาลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ หรือนำไปประกอบในตำรายาแก้ไข้อื่น ๆ[2],[4]
ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ (ผล)[4]
ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้และหอบหืด[8]
ต้นสรรพคุณเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้ปอดอักเสบ (ต้น)[9]
ช่วยแก้โรคบิด (ต้น)[9]
การรับประทานผักเชียงดาใบแก่ จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น และชาวบ้านยังนิยมนำมาแกงรวมกับผักตำลึงและยอดชะอมเพื่อใช้รักษาอาการท้องผูกอีกด้วย[2],[6]
ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ต้น)[9]
ต้นแห้งหรือต้นสดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)[9]
ช่วยขับระดูของสตรี[4]
ช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง ช่วยบำรุงและปรับสภาพการทำงานของตับอ่อนให้เป็นปกติ[8]
ช่วยบำรุงและซ่อมแซมหมวกไต และระบบการทำงานของไตให้สมบูรณ์[8]
ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ต้น)[9]
ใบใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนังทุกชนิด ทำให้น้ำเหลืองแห้ง และแก้กามโรค[9]
ใบสดใช้ตำพอกฝีหรือหัวลำมะลอก งูสวัด เริม ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน[4]
หัวมีรสมันขม มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษอักเสบ พิษร้อน ช่วยดับพิษกาฬ แก้พิษไข้เซื่องซึม และแก้เริม (หัว)[4]
ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อจากโรคเกาต์[8]
ในบ้านเรามีการใช้ผักเชียงดาเป็นทั้งยาสมุนไพรและเป็นอาหารเพื่อรักษาโรคโดยกลุ่มหมอเมืองทางภาคเหนือมานานแล้ว กล่าวคือ การใช้เป็น “ยาแก้หลวง” (คล้ายยาครอบจักรวาลของแผนปัจจุบัน) ถ้าคิดไม่ออกก็บอกผักเชียงดา เช่น แก้เบาหวาน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน แก้ไข้สันนิบาต (ชักกระตุก) แก้หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด แก้แพ้ยา แพ้อาหาร ปวดข้อ เป็นยาระบาย ช่วยระงับประสาท หรือเมื่อมีอาการคิดมากหรือจิตฟั่นเฟือน ฯลฯ ส่วนการนำมาใช้เป็นยาก็ให้นำผักเชียงดามาสับแล้วนำไปตากแห้งบดเป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม หรือจะนำมาบรรจุลงในแคปซูลก็ได้[5]
หมายเหตุ : การนำมาใช้เป็นยาในหน้าแล้ง ให้ใช้รากมาทำยา ส่วนในหน้าฝนให้ใช้ส่วนของเถาและใบ โดยนำมาสับตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม[6]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น