หน้าเว็บ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม


วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

มะรุม ยาข้างบ้านรักษาสารพัดโรค

ประโยชน์ของมะรุม


ใช้รักษาอาการหวัด    แก้ไอสำหรับผู้ที่มีอาการหวัด ไอเรื้อรัง มีอาการภูมิแพ้ เพราะมะรุมอุดมไปด้วยวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง จึงสามารถบรรเทาและรักษาอาการไข้หวัดและอาการไอได้

รักษาโรคขาดสารอาหาร     นำมาใช้รักษาโรคขาดสารอาหารในเด็กได้โดยจะทำให้ร่างกายมีความสมบูรณ์แข็งแรงมากขึ้น เพราะในมะรุมมีสารอาหารหลายชนิด จึงสามารถทดแทนสารอาหารที่ขาดไปได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องรับประทานอาหารอื่นๆ เพื่อเสริมแร่ธาตุสารอาหารให้เพียงพอด้วย

รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน   เพียงนำใบมะรุมมากินเป็นประจำ โดยอาจนำมากินสดๆ หรือนำมาประกอบอาหารก็ได้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเหงือกและฟัน จึงไม่ทำให้มีเลือดออกตามไรฟัน

รักษาโรคเบาหวาน   มีสรรพคุณในการควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือดและลดระดับน้ำตาลให้น้อยลง จึงช่วยบรรเทาและชะลออาการของโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี ส่วนในคนปกติ เมื่อรับประทานมะรุมเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้

ลดระดับความดันโลหิต   งานวิจัยพบว่า การสกัดสารของฝักและผลของมะรุมทดลองในสุนัขและหนูแรทจะได้สารสำคัญประเภท Glycosides ซึ่งสามารถลดความดันโลหิตและลดอาการอื่นๆ ที่เกิดจากความดันโลหิตสูงได้ เช่น ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ เป็นต้น

ลดระดับไขมันในเลือด    การสกัดสารสำคัญจากใบมะรุมนำมาทดลองในกระต่าย 120 วัน เทียบกับยาลดไขมันโลวาสแตทินพบว่า สารในใบมะรุมมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล  phospholipids   Triglycerides และ LDL ได้ และยังสามารถยับยั้งและสลายเซลล์ไขมันในหนูขาวได้ในปริมาณที่แตกต่างกันไป  จากข้อมูลงานวิจัยสามารถกล่าวได้ว่า การรับประทานมะรุมสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดได้ แต่หากจะรับประทานเพื่อหวังให้เป็นยาระบายเพื่อลดน้ำหนักยังไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสม



บรรเทาอาการปวด   ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหลัง ปวดตามข้อ หรือปวดส่วนไหนของร่างกายก็ตาม มะรุมจะช่วยลดอาการปวดตามกล้ามเนื้อและกระดูกได้เป็นอย่างดี รวมถึงช่วยลดอาการอักเสบได้ดีอีกด้วย

กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด     มีสรรพคุณในการบำรุงเลือด จึงช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้เป็นอย่างดี ทั้งยังสามารถใช้รักษาอาการของโรคโลหิตจางได้อีกด้วย

บำรุงร่างกาย    การรับประทานมะรุมเป็นประจำจะช่วยปรับฮอร์โมนในร่างกายให้เป็นปกติ ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เกิดความผ่อนคลาย พร้อมทั้งช่วยซ่อมแซมร่างกายในส่วนที่สึกหรอ หรือบอบช้ำ ให้ฟื้นฟูและกลับมาทำงานได้อย่างเป็นปกติเร็วขึ้นอีกด้วย

บำรุงสายตา    มีวิตามินเอสูงมาก จึงสามารถใช้รักษาอาการผิดปกติที่เกี่ยวกับดวงตาได้ ทั้งยังช่วยบำรุงสุขภาพดวงตาให้แข็งแรง ป้องกันการเสื่อมของจอประสาทตา รวมถึงโรคต้อในตา โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานจ้องหน้าจอคอมเป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้ดวงตามีอาการเหนื่อยล้า ตาแห้ง และพร่ามัวได้
บำรุงผิวให้สวยใส   มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ทำให้ผิวพรรณเนียนนุ่มกระจ่างใส ผิวเนียนดูอ่อนเยาว์และปราศจากริ้วรอย ซึ่งก็เป็นการบำรุงผิวพรรณตั้งแต่ภายในสู่ภายนอก เพราะฉะนั้นใครที่อยากมีผิวสวย มีสุขภาพผิวที่ดี มะรุมก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเช่นกัน

ต่อต้านมะเร็ง  ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในมะรุม จึงสามารถต่อต้านการเกิดมะเร็ง และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้อย่างดีเยี่ยม

การรใช้มัรุมรักษาโรค
ต่อต้านมะเร็ง  นำมะรุมมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นประจำช่วยปกป้องคุณจากโรคมะเร็งร้าย ส่วนผู้ป่วยโรคมะเร็ง การดื่มน้ำมะรุมควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์จะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูเร็วขึ้น และชะลอการแพร่กระจายของโรคได้ดี

แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย  นำเปลือกต้นมะรุมมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำมาทำเป็นลูกประคบโดยการนึ่งให้ร้อน จากนั้นนำมาประคบให้ทั่วตามบริเวณที่มีอาการปวด เพียงเท่านี้ก็จะช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้แล้ว

ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น  นำดอกมะรุมมาต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่มเป็นประจำ สังเกตได้ว่า อาการนอนไม่หลับจะค่อยๆ หายไป นอนหลับได้สนิทมากกว่าเดิม

แก้โรคผิวหนัง  สกัดน้ำมันจากเมล็ดมะรุมนำมาใช้ทาบริเวณผิวหนังที่มีอาการ จะช่วยแก้ผิวแห้งและรักษาโรคเชื้อราบนผิวหนังได้ดี นอกจากนี้ยังทำให้ผิวพรรณมีความนุ่ม ชุ่มชื้น และมีสุขภาพผิวที่ดีขึ้นด้วย

ขับลม  นำเปลือกต้นมะรุมมาต้มกับน้ำสะอาด แล้วนำมาดื่มเป็นประจำเช้าเย็น เพื่อช่วยให้ขับลม ทำให้เรอ และช่วยคุมธาตุอ่อนได้

ช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น   นำเมล็ดมะรุมมาทานวันละเม็ดก่อนนอน จะช่วยแก้อาการท้องผูก และทำให้ขับถ่ายในตอนเช้าได้อย่างสม่ำเสมอ แต่เมื่อระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติแล้ว ก็ให้หยุดทานทันที

รักษาโรคหูน้ำหนวก   นำน้ำมันมะรุมมาหยอดหู จะช่วยบรรเทาและรักษาอาการให้ทุเลาลงจนหายเป็นปกติในที่สุด นอกจากนี้ยังช่วยฆ่าพยาธิในหู และรักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบได้เช่นกัน

แก้อาการผมร่วง  นำน้ำมันมะรุม มานวดให้ทั่วศีรษะเป็นประจำ จะทำให้อาการผมร่วงลดน้อยลง พร้อมกับบำรุงรากผมให้มีความแข็งแรงมากขึ้น เป็นผลให้เส้นผมแข็งแรงมากกว่าเดิม และไม่หลุดร่วงได้ง่าย
รักษาแผลสดที่แผลไม่ใหญ่มาก  นำใบมะรุมมายี หรือโขลกจนละเอียด แล้วนำมาโปะไว้ที่แผลซึ่งจะช่วยรักษาแผลสดให้หายเร็วขึ้น และยังช่วยป้องกันการติดเชื้อที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย ส่วนใครที่มีน้ำมันมะรุมก็อาจใช้มาทาแผลแทนได้เหมือนกัน

ลดความดันโลหิต   นำใบมะรุมสดๆ มาตำคั้นน้ำผสมน้ำผึ้งกิน หรือนำยอดและรากมาต้มน้ำ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น สามารถช่วยลดความดันโลหิตลงได้

 การกินมะรุม



แกงอ่อมยอดมะรุม   เตรียมข้าวคั่วป่น หั่นหมู ยอดมะรุม ผักชีลาว เตรียมไว้ จากนั้นนำพริก กระเทียม ข่า ตะไคร้ หอมแดง มาโขลกรวมกัน  เอาน้ำใส่หม้อขึ้นตั้งไฟ ใส่เครื่องแกงที่โขลกไว้ลงไป เมื่อน้ำเริ่มเดือดใส่หมู ใส่ข้าวคั่ว เกลือ ใบมะกรูด น้ำปลาร้า ปรุงรสแล้วคนจนเข้ากัน รอจนน้ำเดือด ใส่ผักชี ยอดมะรุมลงไป คนสักครู่แล้วปิดไฟ พร้อมตักเสิร์ฟ

แกงส้มมะรุม   ปอกเปลือกฝักมะรุม ตัดเป็นท่อนๆ เอาไปล้างในน้ำเกลือ นำมะเขือเทศกับผักชีมาผ่าครึ่ง หั่นผักชี แกะปลาทูเอาเฉพาะเนื้อ ตั้งน้ำในหม้อด้วยไฟแรง เมื่อน้ำเดือดใส่เครื่องพริกแกงส้มลงไป คนให้เข้ากัน รอจนน้ำแกงเดือดอีกครั้งจึงใส่มะระลงไปต้มจนสุก ใส่เนื้อปลาทู ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก น้ำปลา น้ำตาล ใส่มะเขือเทศและผักชี ปิดไฟ พร้อมตักเสิร์ฟ

ต้มจืดมะรุม    เด็ดยอดมะรุม รูดใบ ตำกระเทียม พริกไทย รากผักชีจนละเอียด เอาหมูลงไปโขลกด้วย นำน้ำใส่หม้อตั้งไฟจนเดือด ใส่ผงซุปไก่ลงไป เมื่อน้ำเริ่มเดือดใส่หมูที่เตรียมไว้ ใส่กุ้งแห้งลงไป ใส่ยอดมะรุม ใส่ผักชีลงไป พร้อมตักเสิร์ฟ

ไข่เจียวมะรุม    นำไข่ไก่มาตอกใส่ชามแล้วตีผสมกับน้ำปลา จากนั้นก็ใส่ใบมะรุมที่เด็ดเป็นใบแล้วลงไป ใส่น้ำมันตั้งกระทะรอจนเริ่มร้อนก็เทไข่เจียวที่ตีไว้ลงไปทอด เมื่อไข่เจียวสุกทั้งสองด้านก็ตักใส่จานพร้อมกิน

ข้อควรระวัง
มะรุมมีพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเลือดเพราะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย
หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการแท้งลูกได้สูง
ผู้ป่วยโรคเกาต์ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียได้
สำหรับผู้ที่รับประทานมะรุมต่อเนื่องเป็นเวลาควรตรวจการทำงานของตับ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่ใช้มะรุมติดต่อกันเป็นระยะเวลานานพบเอนไซม์เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นควรใส่ใจกับข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณด้วย
ควรเลือกใบที่ไม่แก่หรือไม่อ่อนเกินไป รับประทานสดๆ และไม่ถูกความร้อนมากเกินไปเพื่อให้ได้ประโยชน์จากสารอาหารเต็มที่
เห็นไหมว่า มะรุมมีประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น ลดความดันโลหิตสูง ควบคุมระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด ต้านการอักเสบ และสามารถนำมากิน นำมาใช้ได้หลากหลายไอเดียเลยทีเดียว ฉะนั้นมากินมะรุมให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณกันดีกว่า


ที่มาของข้อมูล
คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. มะรุม พืชที่ทุกคนอยากรู้ (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/8/มะรุม-พืชที่ทุกคนอยากรู้/), 11 เมษายน 2562

อธิกา จารุโชติกลม และคณะ. ฤทธิ์ของสารสกัดใบมะรุมต่อการสลายไขมันในเซลล์ไขมันจากหนูขาว, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, หน้า 129, 11 เมษายน 2562


วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

กระชาย : ชะลอความแก่ และบำรุงกำลัง ชะลอแก่ บำรุงกำลัง และลดความอ้วน

กระชาย : ชะลอความแก่ และบำรุงกำลัง ชะลอแก่ บำรุงกำลัง และลดความอ้วน
สั่งซื้อกระชายแห้ง โทร+ไลน์ 0809898770

 กระชาย (เหลือง) ธรรมดา   ชะลอความแก่และบำรุงกำลัง


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระชายเป็นไม้ล้มลุก สูงราว ๑-๒ ศอก มีลำต้นใต้ดินเรียกเหง้า มีรากทรงกระบอกปลายแหลมจำนวนมากรวมติดอยู่ที่เหง้าเป็นกระจุก เนื้อในรากละเอียด สีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะ กาบใบสีแดงเรื่อ ใบใหญ่ยาวรีปลายแหลม ดอกเป็นช่อ สีขาวอมชมพู ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า กระชายชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบดินแฉะ

ต้องการแค่ปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติ ฤดูที่เหมาะ กับการปลูกคือปลายฤดูแล้ง  ในประเทศไทยมีพืชที่เรียกว่ากระชายอยู่ ๓ ชนิด คือกระชาย (เหลือง) กระชายแดง และกระชายดำ กระชายเหลืองและกระชายแดงเป็นพืชจำพวก (genus และ species) เดียวกัน แต่เป็นพืชต่างชนิดกันและมีฤทธิ์ทางยาต่างกันเล็กน้อย โดยกระชายแดงจะมีกาบใบสีแดงเข้มกว่ากระชายเหลือง  ส่วนกระชายดำเป็นพืชวงศ์ขิงเช่นกันแต่อยู่ในตระกูลเปราะหอม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kaempferia parviflora Wall. ex Bak.

การใช้งานตามภูมิปัญญา


เหง้าและรากของกระชายมีรสเผ็ดร้อนขม หมอยาพื้นบ้านในประเทศไทยใช้เหง้าและรากของกระชายแก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้โรคกระเพาะ รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เมื่อมีอาการปวดข้อเข่า ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง และใช้บำบัดโรคกามตายด้านอีกด้วย

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และรายงานเกี่ยวกับฤทธิ์ของสารที่มีอยู่ในกระชาย
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า ในเหง้ากระชายมีน้ำมันหอมระเหยแต่พบในปริมาณน้อย (ราวร้อยละ ๑-๓)  น้ำมันหอมระเหย ของกระชายประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด เช่น ๑.๘-cineol, camphor, d-borneol และ methyl cinnamate น้ำมันหอมระเหยที่พบส่วนน้อย ได้แก่ d-pinene, zingi-berene, zingiberone, curcumin และ zedoarin นอกจากนี้ยังพบสารอื่น ได้แก่ กลุ่มไดไฮโดรชาลโคน boesenbergin A  กลุ่มฟลาโวน ฟลาวาโนน และฟลาโวนอยด์ (ได้แก่ alpinetin, pinostrobin) และ pinocembrin และกลุ่มชาลโคน (ได้แก่ ๒', ๔', ๖'-trihydroxy chalcone และ cardamonin)

ฤทธิ์แก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ  แก้ลมจุกเสียด
น้ำมันหอมระเหยของกระชายมีฤทธิ์บรรเทาอาการหดตัว ของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหาร
สารสกัดกระชายมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E. coli ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด นอกจากนั้นสาร cineole มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงลดอาการปวดเกร็ง

ฤทธิ์แก้โรคกระเพาะ
งานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์พบว่า สารสกัดรากกระชายและสาร pinostrobin มีฤทธิ์ต้านการเจริญของแบคทีเรียกรัมลบ ชื่อ Helicobacter pylori ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ เมื่อใช้สารสกัดจากรากกระชายรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหารในสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดดังกล่าวนอกจากจะฆ่าเชื้อสาเหตุของโรคแล้วยังมีฤทธิ์ลดการอักเสบของแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น เนื่องจากมีรายงานว่าสาร pinostrobin จากพืชตระกูลพริกไทย (Piper methylsticum) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบทั้งใน ระบบ COX-I และ COX-II จึงอาจอธิบายฤทธิ์ที่เสริมกันได้ดังกล่าว

ฤทธิ์แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า สาร pinostrobin มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคกลาก ๓ ชนิด คือ Trichophyton mentagrophytes, Microsporum gypseum และ Epidermophyton floccosum และต้านการเจริญของเชื้อ Candida albican ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการตกขาว
งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้จึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นในองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยอีกครั้งหนึ่ง



ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ
การมีอายุที่ยืนยาวน่าจะมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ในทางการแพทย์ร่างกายที่มีสุขภาพดีน่าจะไม่มีโรคหลอดเลือดแข็งตัว ระบบประสาททำงานได้อย่างดี ปราศจากโรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคมะเร็ง และตับทำงานกำจัดสารพิษได้ดี

แง่คิดทางการแพทย์ในปัจจุบันเสนอว่า การอักเสบแบบเรื้อรังเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด ได้แก่ การเกิดความไม่เสถียรของโคเลสเตอรอลที่สะสมภายในผนังหลอดเลือดทำให้เกิดอาการหัวใจวาย อาการอักเสบเรื้อรังกัดกร่อนเซลล์ประสาทในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ หรืออาจกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของเซลล์ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการแปรสภาพเป็นเซลล์มะเร็ง จึงมีการศึกษาผลจากการให้สารต้านการอักเสบ แก่ผู้ป่วยด้วยโรคเหล่านี้ ตัวอย่างได้แก่ การให้แอสไพรินซึ่งมีฤทธิ์ต้านอักเสบแก่ผู้ป่วยโรคความดันเลือดสูง และการศึกษาที่พบว่า การบริโภคน้ำมันปลาและ แอสไพรินซึ่งต่างมีฤทธิ์ลดไซโตไคน์ ที่มาจากการอักเสบจะลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ จึงอาจคาดคะเนได้ว่า เนื่องจากรากกระชายมีสาร pino-strobin และ ๕, ๗-dimethoxyflavone ที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ การบริโภคกระชายเป็นประจำอาจได้ผลคล้ายการบริโภคแอสไพริน และอาจป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากการอักเสบเรื้อรังในร่างกายได้

การทดสอบเบื้องต้นของการใช้สารสกัดจากกระชายต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลองวิจัยโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ผลการทดลองขั้นต้นเป็นที่น่าพอใจ ถือเป็นการตอกย้ำว่า ภูมิปัญญาไทยใช้ได้ผลในเชิงวิทยาศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง สาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง  คือการที่เซลล์ได้รับความเสียหายจากอนุมูลอิสระ อันเกิดจากกระบวนการปกติ ภายในเซลล์ อนุมูลอิสระมีอิเล็กตรอนวงนอกขาดหายไปจึงไวต่อการทำปฏิกิริยาเคมี นอกจากนี้ การได้รับควันบุหรี่ หรือรังสี ก็อาจก่อให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระได้ ในร่างกายมนุษย์อนุมูลอิสระที่พบมากที่สุดคือ อนุมูลอิสระของออกซิเจน เมื่อทำปฏิกิริยาเคมีเพื่อเติมอิเล็กตรอนของตัวเองให้ครบจะทำความเสียหายให้กับดีเอ็นเอและโมเลกุลอื่นๆ  เมื่อเวลาผ่านไปความเสียหายดังกล่าวจะซ่อมแซมไม่ได้อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งขึ้น สารต้านอนุมูลอิสระคือสารที่ทำให้อนุมูลอิสระเป็นกลางไม่ดึงอิเล็กตรอนไปจากโมเลกุลอื่นในเซลล์

รายงานการวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นพบว่า สาร alpinetin, pinostro-bin, pinocembrin และ ๒', ๔', ๖'-  trihydroxy chalcone มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ฤทธิ์ดังกล่าวไม่สลายไปเมื่อได้รับความร้อน จึงมีศักยภาพในการใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็ง มีรายงานจากพืชตระกูลข่า (Al-pinia rafflesiana) ว่า pinocembrin, pinostrobim และ cardamonin มีฤทธิ์ทำให้อนุมูลอิสระเป็นกลาง จึงมีผลช่วยลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระในร่างกายได้ นอกจากนั้นแล้ว pinostro-bin ยังมีฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของมนุษย์ สาร pinostrobin ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ topoisomerase I ในกระบวนการเพิ่มจำนวนเซลล์ ดังนั้น การบริโภครากกระชายจึงอาจลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ รายงานการวิจัยจากสหรัฐอเมริกา พบว่าสารพิโนสโตรบินจากกระชายมีฤทธิ์เพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่ใช้กำจัดสารพิษในตับ

บำบัดโรคนกเขาไม่ขัน หรือโรคอีดี (Erectile Dysfunctional หรือ ED)
การแข็งตัวขององคชาตเกิดจากการมีเลือดเข้าไปคั่งอยู่ในอวัยวะดังกล่าว นับเป็นผลจากการคลายตัวของเนื้อเยื่อ ที่เรียกว่า cavernous tissues ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งระบบประสาทส่วนกลาง และปัจจัยเฉพาะในอวัยวะดังกล่าว สาเหตุและปัจจัยโน้มนำที่ก่อให้เกิดโรคนกเขาไม่ขันหรือโรคอีดี มีหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ ความชราภาพ ความดันเลือดสูง เบาหวาน โคเลสเตอรอลในเลือดสูง หลอดเลือดแข็งตัว หลอดเลือดตีบ โรคหัวใจ การสูบบุหรี่ หรือความผิดปกติที่ทำให้ระบบประสาททำงานลดลง เนื่องจากสาเหตุหรือปัจจัยโน้มนำ  ดังกล่าวเป็นปัญหาในลักษณะเรื้อรัง หลังจากได้รับการแก้ไขแล้วก็อาจไม่สามารถรักษาโรคอีดีได้ ในระยะ ๑๐ ปีที่ผ่านมามีการค้นคว้าอย่างกว้างขวางเพื่อหาแนวทางการรักษาโรคอีดี การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อในส่วนเนื้อเยื่อองคชาตที่แข็งตัวได้นี้อยู่ภายใต้การควบคุมของสารเคมีที่ผลิตและหลั่งในบริเวณกล้ามเนื้อเอง และ/หรือโมเลกุลที่ผลิตมาจากเซลล์หรือเนื้อเยื่ออื่นๆ ดังนั้น อวัยวะเป้าหมายของการใช้สารเคมีบำบัดจึงแบ่งได้เป็น

๑. กลุ่มกล้ามเนื้อเรียบของเนื้อเยื่อองคชาตที่แข็งตัวได้

๒. เนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่ผลิตสารเคมีที่ควบคุมการคลายของกล้ามเนื้อดังกล่าว

กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคอีดี จำแนกจากกลไกและอวัยวะเป้าหมายของการออกฤทธิ์ได้ดังนี้ คือ

๑. ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สารต้านโอพิออยด์ (opioid receptor antagonists)

๒. ยาที่มีผลต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตสารสื่อประสาท ได้แก่ a-adrenoreceptor antagonists

๓. ยาที่มีผลต่อการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ได้แก่ สารกลุ่ม prostanoids (PGE1), ไนตริกออกไซด์ และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไนตริกออกไซด์ (ได้แก่ nitric oxide synthase)

สาร cardamonin และ alpinetin จากพืชตระกูลข่า (Alpinia henryi) มีฤทธิ์คลายผนังหลอดเลือดแดงมีเซ็นเทอริก (mesenteric arteries) ในหนูแร็ท โดยมีกลไกทั้งที่ขึ้นกับเซลล์บุผนังหลอดเลือด ซึ่งคาดว่าควบคุมโดยไนตริกออกไซด์ และโดยกลไกที่ไม่ขึ้นกับเซลล์บุผนังหลอดเลือด ซึ่งคาดว่าโดยการควบคุมการเข้าออกของแคลเซียม (Ca2+) อย่างไม่เฉพาะเจาะจง และการยับยั้งกลไกการหดตัวที่ขึ้นกับโปรตีนไคเนส-ซี

ภูมิปัญญาไทยใช้รากกระชายบำบัดอาการอีดี โดยกินทั้งราก เนื่องจากในรากกระชายมีสารที่ออกฤทธิ์คลายการหดตัวของผนังหลอดเลือดในกลุ่มยารักษาอีดี กลุ่มที่ ๓ จึงเห็นว่าเป็นการใช้งานที่ไม่ขัดกับข้อมูลจากวงการแพทย์ และเนื่องจากกระชายเป็นพืชอาหารของไทยไม่พบรายงานความเป็นพิษเมื่อบริโภคในระดับที่เป็นอาหาร

ฤทธิ์ต้านจุลชีพ
งานวิจัยจากประเทศกานาพบว่า สาร pinostrobin จากรากและใบของต้น Cajanus cajan มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ในประเทศไทยงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่า สารสกัดคลอโรฟอร์มและเมทานอลจากรากกระชายมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อ Giardia intestinalis  ซึ่งเป็นพยาธิเซลล์เดียวในลำไส้ก่อให้เกิดภาวะท้องเสีย ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากกับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง งานวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่า pinostrobin, panduratin A, pinocembrin  และ alpinetin มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียหลายชนิด

การใช้งาน


กระชายแก่มี pinostrobin เป็นสองเท่าของกระชายอ่อน ถามคนขายเลือกเอารากที่แก่ กระชายจากชุมพรและนครปฐมมีสาร pinostrobin มากประมาณร้อยละ ๐.๑ ของน้ำหนักแห้ง รากอ้วนๆ อวบน้ำมีสารสำคัญน้อยไม่ควรใช้

บรรเทาอาการจุกเสียด นำเหง้าแห้งประมาณครึ่งกำมือต้มเอาน้ำดื่ม

บำบัดโรคกระเพาะ กินรากสดแง่งเท่านิ้วก้อยไม่ต้องปอกเปลือก วันละ ๓ มื้อก่อนอาหาร ๑๕ นาทีสัก ๓ วัน ถ้ากินได้ให้กินจนครบ ๒ สัปดาห์ ถ้าเผ็ดร้อนเกินไปหลังวันที่ ๓ ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือกขนาดเท่ากับ ๒ ข้อนิ้วก้อยจนครบ ๒ สัปดาห์

บรรเทาอาการแผลในปาก ปั่นรากกระชายทั้งเปลือก ๒ แง่งกับน้ำสะอาด ๑ แก้วในโถปั่นน้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้กลั้วปากวันละ ๓ เวลาจนกว่าแผลจะหาย ถ้าเฝื่อนเกินให้เติมน้ำสุกได้อีก ส่วนที่ยังไม่ได้แบ่งใช้เก็บในตู้เย็นได้ ๑ วัน

แก้ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชายที่ล้างสะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ใส่โถปั่นพอหยาบ ใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟเล็ก (เหมือนที่เขาใช้คนกาแฟโบราณ) วันละ ๓ มื้อก่อนอาหาร ๑๕ นาที สัก ๗ วัน

ฤทธิ์แก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า คันศีรษะจาก  เชื้อรา นำรากกระชายทั้งเปลือกมาล้างผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้วบดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช (อาจใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้) มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชาย ใช้น้ำมัน ๓ เท่าของปริมาณกระชาย หุง (คนไปคนมาอย่าให้ไหม้) ไฟอ่อนๆ ไปสักพักราว ๑๕-๒๐ นาที กรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชาใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน

แก้คันศีรษะจากเชื้อรา ให้เอาน้ำมันดังกล่าวไปเข้าสูตรทำแชมพูสระผมสูตรน้ำมันจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้แทนน้ำมันมะพร้าวในสูตร ประหยัดเงินและได้ภูมิใจกับภูมิปัญญาไทย หรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผม ให้เพิ่มปริมาณน้ำมันพืชอีก ๑ เท่าตัว โกรกด้วยน้ำมันกระชายสัก ๕ นาที นวดให้เข้าหนังศีรษะ แล้วจึงสระผมล้างออก


ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ ผงกระชายทั้งเปลือกบดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ ๓ ลูกก่อนเข้านอน ตำรับนี้เคยมีผู้รายงานว่าใช้ลดน้ำตาลในเลือดได้ หรือใช้กระชายตากแห้ง  บดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ ๒๕๐ มิลลิกรัม กินวันละ ๑ แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ ๒ แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ ๒
รองศาสตราจารย์ซึ่งนักเรียนทุนออสเตรเลีย อายุ ๕๔ กล่าวว่า "อดีตผมกินเหล้า สูบบุหรี่จัด มันก็เลยเสื่อมๆ ไป ปกติแล้วถึงผมอยากมันก็ไม่เกิดอะไร ขึ้น พอกินไปสักวันที่ ๓-๔  พออยากแล้วมันก็ขึ้นมาเอง ภรรยาเลยไม่ค่อยได้ นอนครับ"

ฤทธิ์แก้โรคนกเขาไม่ขัน (โรคอีดี)

วิธีที่ ๑ ใช้ตามตำราแก้ฝ้าขาวในปาก อาการจะเริ่มเปลี่ยนแปลงหลังวันที่ ๓-๔

วิธีที่ ๒ รากกระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ ๒๕๐ มิลลิกรัม กินวันละ ๑ แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก  วันละ ๒ แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ ๒  ถ้าไม่เห็นผลกินอีก ๒ แคปซูลก่อนอาหารเย็น หรือกลับไปใช้วิธีที่ ๑ จะเริ่มกินบอกภรรยาด้วย ถ้าได้ผลแล้วภรรยาบ่นให้ภรรยากินด้วยเหมือนๆ กัน

วิธีที่ ๓ เพิ่มกระชายในอาหาร ทำเป็นกับข้าวธรรมดาก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นต้มยำ (ทุบแบบหัวข่า) แกงเผ็ด (หั่นเป็นฝอย) กินทุกวัน พร้อมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เห็นผลในหนึ่งเดือน

ฤทธิ์บำรุงหัวใจ
นำเหง้าและรากกระชายปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง ใช้ผงแห้ง ๑ ช้อนชาชงน้ำดื่มครึ่งถ้วยชา คนโบราณบอกว่าลางเนื้อชอบลางยา ให้สูตรกระชายไปหลายสูตรแล้ว ถ้าใครถูกกับสูตรไหนกินไปเลย หรือจะเพิ่มการกินขนมจีนน้ำยาหรือแกงป่าใส่กระชายก็ได้ ชนิดที่ไม่ใส่กะทิก็ดี ไขมันจะได้ไม่พอกพูน

ข้อมูลสื่อ
ชื่อไฟล์: 315-007
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 315
เดือน/ปี: กรกฎาคม 2548
คอลัมน์: สมุนไพรน่ารู้
นักเขียนหมอชาวบ้าน: รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ


วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

สมุนไพร ผู้ป่วยโรคไต

สมุนไพร ผู้ป่วยโรคไต
  • ต้องการฐานข้อมูลสมุนไพรที่ห้ามใช้ (หรือไม่ควรใช้) ในผู้ป่วยไตวาย (ระยะ 3b 4 5 ) เพื่อใช้แนะนำผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ของโรงพยาบาล เช่น ขอรายชื่อสมุนไพร และผลกระทบต่อผู้ป่วยไต



ผู้ป่วยโรคไต
- ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักผลไม้ที่มีสารที่มีกรดอ็อกซาริก (oxalic acid) ปริมาณสูง ซึ่งสามารถจับกับแคลเซี่ยมตกตะกอนเป็นก้อนนิ่วที่ไต ทำให้เกิด acute oxalate nephropathy ตัวอย่าง ผัก ผลไม้ ที่มีกรดอ็อกซาลิกสูง เช่น มะเฟืองเปรี้ยว มันสำปะหลัง โกฐน้ำเต้า ผักโขม
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงการรับประทานลูกเนียงดิบ (djenkol bean) ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Archidendron jiringa Nielsen หรือชื่อพ้อง Pithecellobium lobatum Benth เนื่องจากในลูกเนียงมีสาร djenkolic acid ซึ่งสามารถตกตะกอนเป็นผลึกได้ในกรณีที่มีความเข้มข้นสูงและในภาวะเป็นกรด ทำให้เกิดเป็นนิ่วอุดตันของทางเดินปัสสาวะได้ อาการพิษจากลูกเนียงมักสัมพันธ์กับการกินลูกเนียงดิบร่วมกับการดื่มน้ำน้อย ปริมาณที่ทำให้เกิดพิษนั้นมีรายงานตั้งแต่ 1-20 เมล็ด
- ผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียม (potassium) สูง ทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมเกิน (hyperkalemia) ไตต้องทำงานหนักในการขับแร่ธาตุ มีตัวอย่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังบริโภค น้ำลูกยอ (Noni juice) ทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมเกิน ทั้งนี้เพราะว่าน้ำลูกยอมีปริมาณโพแทสเซียมประมาณ 2,195.7 มิลลิกรัม รวมถึงผลไม้บางชนิดควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ทุเรียนก้านยาว ทุเรียนชะนี กล้วยหอม และส้มสายน้ำผึ้ง ซึ่งมีค่าโพแทสเซียมสูงเมื่อเปรียบเทียบกับส้มชนิดอื่น ๆ ในปริมาณที่เท่ากัน ส่วนผักที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ ผักโขม และหน่อไม้
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/141 ค่ะ

ที่มา :
บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ผักผลไม้..ที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์
ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล



โทรหาเรา 0809898770หรือไลน์

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ผักเสี้ยนผีและเพชรสังฆาต เพื่อ ใช้ทำนำ้มันนวด ควรแช่แอลกอฮอล หรือทอดดีกว่า

ผักเสี้ยนผีและเพชรสังฆาต เพื่อ ใช้ทำนำ้มันนวด ควรแช่แอลกอฮอล หรือทอดดีกว่า



จากการสืบค้นงานวิจัยของ
ผักเสี้ยนผี พบว่าสาร cleomeolide แบะ cleomaldeic acid ซึ่งพบใน95% เอทานอลของผักเสี้ยนผีมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการอักเสบ

ส่วนเพชรสังฆาตพบสารสกัดเมทานอล สารสกัด 80%เอทานอล และสารสกัดเอธิลอะซีเตท
มีผลบรรเทาปวดและอักเสบในสัตว์ทดลองได้

ดังนั้นหากต้องการนำสมุนไพรทั้งสองชนิดนี้ไปทำน้ำมันนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดอักเสบ ควรเลือกการสกัดสารด้วยแอลกอฮอล์






การใช้ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะและข้อห้าม




ยาขมิ้นชัน เพื่อบรรเทาอาการแน่นจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ใช้ผงเหง้าขมิ้นชัน ที่มีสารสำคัญ curcuminoids ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก (w/w) และน้ำมันระเหยง่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก (v/w)

รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม (แคปซูลหรือยาเม็ด)

วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน

ข้อห้ามใช้: ห้ามใช้ในผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตัน หรือผู้ที่ไวต่อยานี้

  • ข้อควรระวัง:
  • – ควรระวังการใช้กับผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
  • – ควรระวังการใช้กับหญิงตั้งครรภ์ ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
  • – ควรระวังการใช้กับเด็ก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัย
  • – ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
  • – ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่กระบวนการเมแทบอลิซึม ผ่านเอนไซม์ Cytochrome P450 (CYP 450) เนื่องจากสาร curcumin ยับยั้ง CYP 3A4, CYP 1A2 แต่กระตุ้นเอนไซม์ CYP 2A6
  • – ควรระวังการใช้ร่วมกับยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด เช่น doxorubicin, chlormethine, cyclophosphamide และ camptothecin เนื่องจาก curcumin อาจมีผลต้านฤทธิ์ยาดังกล่าว

อาการไม่พึงประสงค์: ผิวหนังอักเสบจากการแพ้



การใช้ผงกล้วยดิบ รักษาโรคกระเพาะอย่างถูกต้อง



ข้อมูลจากบัญชียาจากสมุนไพร ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการสมุนไพรทั้งสองชนิด ดังนี้



ยากล้วย เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ใช้ผงกล้วยน้ำว้าชนิดแก่จัด รับประทานครั้งละ 10 กรัม ชงน้ำร้อน 120 – 200 มิลลิลิตร
วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ข้อควรระวัง:
– ไม่ควรใช้กับผู้ที่ท้องผูก
– การรับประทานติดต่อกันนานๆ อาจทำให้ท้องอืดได้

อาการไม่พึงประสงค์: ท้องอืด



ราคา 200 เม็ด 390 บาท ส่งฟรีเก็บปลายทางโทรหาเรา ไลน์หาเรา 0809898770
ราคา 300 เม็ด 490 บาท ส่งฟรีเก็บปลายทางโทรหาเรา ไลน์หาเรา
ราคา ผงกล้วยน้ำว้าดิบ 1กิโลกรัม 300 บาท ส่งฟรี