สมุนไพรที่สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้มีหลายชนิด เช่น ชุมเห็ดเทศ มะขามแขก แมงลัก และตรีผลา ซึ่งประกอบด้วยสมุนไพร 3 ชนิด คือ สมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อมด้วยอัตราส่วน 1:1:1 โดย
1) ชุมเห็ดเทศ ใช้ใบ 8 - 12 ใบ ตากแดดให้แห้ง ป่นเป็นผงชงกับน้ำเดือด รินน้ำดื่มขณะอุ่น หรือใช้ดอก 1 ช่อ กินสดๆ เป็นยาระบาย หรือใช้ใบและก้านขนาดใหญ่ ประมาณ 3 – 5 ช่อ นำมาต้มกับน้ำประมาณ 2 ขัน (1500 มล.) ต้มให้เดือดเหลือน้ำประมาณ 1/2 ขัน ใส่เกลือพอมีรสเค็มเล็กน้อย ดื่มวันละ 1 แก้ว (250 มล.) หรือใช้ใบสดหรือแห้งประมาณ 12 ใบ ต้มกับน้ำดื่มครั้งละแก้ว อาการอันไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้ คือ คลื่นไส้ มวนท้อง ปวดท้อง ท้องเสีย
2) มะขามแขก ใช้ใบแห้ง 1 - 2 กำมือ (หนัก 3 - 10 ก.) ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้วิธีบดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้ฝัก 4 - 5 ฝัก ต้มกับน้ำดื่ม บางคนดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้อง (ฝักจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าใบ) แก้ไขได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลมจำนวนเล็กน้อย แต่การใช้มะขามแขกเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการทำลายระบบประสาทที่ใช้ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ ทำให้การทำงานของลำไส้ใหญ่ลดลง ร่างกายจะเคยชินกับการกระตุ้นด้วยมะขามแขก และไม่ถ่ายอุจจาระด้วยตนเองตามปกติ และเมื่อใช้ติดต่อกันนานๆ อาจทำให้เกิดการดื้อยา และต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้นเรื่อยๆ จึงแนะนำว่าให้ใช้เป็นครั้งคราวเมื่อมีอาการ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าการใช้มะขามแขกติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้เอนไซม์ในตับสูงขึ้น รวมทั้งอาจทำให้เกิดอาการตับบกพร่องและไตวายเฉียบพลัน ดังนั้นจึงไม่ควรใช้บ่อยๆ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน และผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับและไตควรหลีกเลี่ยง หรือใช้ภายใต้ความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
3) แมงลัก นำเมล็ดแมงลักมาแช่น้ำจนพองเต็มที่ แล้วจึงรับประทาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มกากใย ทำให้การขับถ่ายสะดวกขึ้น
4) ตรีผลา โดยทานตรีผลาขนาด 2.5 กรัม วันละ 2 ครั้ง จะช่วยให้การระบายดีขึ้น หรือรับประทานในรูปแบบของเครื่องดื่มวันละ 2 เวลา เช้า - เย็น ครั้งละ 1 แก้ว สำหรับสมุนไพรตรีผลา สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาสมุนไพร เช่น ร้านเจ้ากรมเป๋อค่ะ
แต่อย่างไรก็ตามอาการท้องผูกมักเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตนเอง เช่นการขับถ่ายไม่เป็นเวลา การรับประทานอาหารที่ไม่ค่อยมีกากใย ดังนั้นการแก้ไขพฤติกรรมจึงเป็นการป้องกันและการรักษาท้องผูกที่ดีที่สุด เช่น หากขับถ่ายไม่เป็นเวลา ควรแก้โดยฝึกนิสัยตนเองให้พยายามถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา โดยต้องทำให้เคยชินและเป็นประจำทุกวัน หากอยากถ่ายควรรีบถ่าย หมั่นออกกำลังกาย โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อหน้าท้อง ดื่มน้ำสะอาดให้มากพอ รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำทุกวันหรือทุกมื้อเพื่อเพิ่มกากใยและช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
1) ชุมเห็ดเทศ ใช้ใบ 8 - 12 ใบ ตากแดดให้แห้ง ป่นเป็นผงชงกับน้ำเดือด รินน้ำดื่มขณะอุ่น หรือใช้ดอก 1 ช่อ กินสดๆ เป็นยาระบาย หรือใช้ใบและก้านขนาดใหญ่ ประมาณ 3 – 5 ช่อ นำมาต้มกับน้ำประมาณ 2 ขัน (1500 มล.) ต้มให้เดือดเหลือน้ำประมาณ 1/2 ขัน ใส่เกลือพอมีรสเค็มเล็กน้อย ดื่มวันละ 1 แก้ว (250 มล.) หรือใช้ใบสดหรือแห้งประมาณ 12 ใบ ต้มกับน้ำดื่มครั้งละแก้ว อาการอันไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้ คือ คลื่นไส้ มวนท้อง ปวดท้อง ท้องเสีย
2) มะขามแขก ใช้ใบแห้ง 1 - 2 กำมือ (หนัก 3 - 10 ก.) ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้วิธีบดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้ฝัก 4 - 5 ฝัก ต้มกับน้ำดื่ม บางคนดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้อง (ฝักจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าใบ) แก้ไขได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลมจำนวนเล็กน้อย แต่การใช้มะขามแขกเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการทำลายระบบประสาทที่ใช้ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ ทำให้การทำงานของลำไส้ใหญ่ลดลง ร่างกายจะเคยชินกับการกระตุ้นด้วยมะขามแขก และไม่ถ่ายอุจจาระด้วยตนเองตามปกติ และเมื่อใช้ติดต่อกันนานๆ อาจทำให้เกิดการดื้อยา และต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้นเรื่อยๆ จึงแนะนำว่าให้ใช้เป็นครั้งคราวเมื่อมีอาการ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าการใช้มะขามแขกติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้เอนไซม์ในตับสูงขึ้น รวมทั้งอาจทำให้เกิดอาการตับบกพร่องและไตวายเฉียบพลัน ดังนั้นจึงไม่ควรใช้บ่อยๆ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน และผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับและไตควรหลีกเลี่ยง หรือใช้ภายใต้ความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
3) แมงลัก นำเมล็ดแมงลักมาแช่น้ำจนพองเต็มที่ แล้วจึงรับประทาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มกากใย ทำให้การขับถ่ายสะดวกขึ้น
4) ตรีผลา โดยทานตรีผลาขนาด 2.5 กรัม วันละ 2 ครั้ง จะช่วยให้การระบายดีขึ้น หรือรับประทานในรูปแบบของเครื่องดื่มวันละ 2 เวลา เช้า - เย็น ครั้งละ 1 แก้ว สำหรับสมุนไพรตรีผลา สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาสมุนไพร เช่น ร้านเจ้ากรมเป๋อค่ะ
แต่อย่างไรก็ตามอาการท้องผูกมักเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตนเอง เช่นการขับถ่ายไม่เป็นเวลา การรับประทานอาหารที่ไม่ค่อยมีกากใย ดังนั้นการแก้ไขพฤติกรรมจึงเป็นการป้องกันและการรักษาท้องผูกที่ดีที่สุด เช่น หากขับถ่ายไม่เป็นเวลา ควรแก้โดยฝึกนิสัยตนเองให้พยายามถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา โดยต้องทำให้เคยชินและเป็นประจำทุกวัน หากอยากถ่ายควรรีบถ่าย หมั่นออกกำลังกาย โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อหน้าท้อง ดื่มน้ำสะอาดให้มากพอ รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำทุกวันหรือทุกมื้อเพื่อเพิ่มกากใยและช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น