Araliaceae Panax Notoginseng
โสมซานชี
ราคาเมล็ด 200 เมล็ด 1300 บาท รวมส่ง
ราคา 20 เมล็ด 250 บาท ส่งลงทะเบียน
ราคา 20 เมล็ด 250 บาท ส่งลงทะเบียน
โปรดโทรสอบถามก่อน สินค้ามีจำนวนจำกัด
0809898770
ลักษณะของโสมซานชี
ต้นโสมซานซี จะมีกิ่ง 3 กิ่ง และในแต่ละกิ่งจะมีใบ 7 ใบ จึงถูกเรียกรวมกันว่า “ซานชี” ซึ่งหมายถึงต้นไม้ที่มีกิ่ง 3 กิ่ง และในแต่ละกิ่งจะมีใบ 7 ใบ โดยต้นโสมซานชีนั้นจัดเป็นพืชยืนต้น ที่มีความสูงของต้นประมาณ 1.2 เมตร มีอัตราการเจริญเติบโตช้า มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน โดยมีแหล่งกำเนิด ณ เหวินซานโจว ที่จังหวัดยูนนาน ของสาธารณรัฐประชาชนจีน[1]
....................
สรรพคุณของโสมซานชี
สมุนไพรโสมซานชี เป็นอาหารที่กินแล้วจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ชาวจีนจึงนิยมนำมาปรุงอาหารกิน เช่น นำมาตุ๋นหรือต้มกับเนื้อสัตว์ เป็นต้น[1]
โสมซานชีสามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย และช่วยคงสภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งจากการศึกษาเมื่อปี ค.ศ.2005 ของมหาวิทยาลัยโปลีเทคนิคในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา ที่ได้ทำการศึกษาผลการใช้โสมซานชีเป็นอาหารเสริมในผู้ออกกำลังกายจำนวน 29 คน ที่มีอายุระหว่าง 20-35 ปี แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 ซึ่งมีผู้ทดลอง 13 คน ให้กินโสมซานชีบรรจุแคปซูลวันละ 1,350 กรัม ส่วนกลุ่มที่ 2 ซึ่งมีผู้ทดลอง 16 คน เป็นกลุ่มควบคุม ผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ 1 สามารถออกกำลังกายได้นานกว่ากลุ่มควบคุม เนื่องจากโสมซานชีสามารถช่วยเสริมสร้างความทนทานต่อการออกกำลังกาย ลดความเหนื่อยล้าในระหว่างการออกกำลังกาย และผู้ออกกำลังกายมีระดับความดันโลหิตต่ำในระหว่างการออกกำลังกาย จึงแสดงให้เห็นว่า ร่างกายสามารถนำออกซิเจนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ[1],[2]
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อโรค จากการศึกษาเมื่อปี ค.ศ.2005 ของมหาวิทยาลัยเจ้อเจียงในจีน ที่ได้ทำการสกัดสารซาโปนินจากรากโสมซานชีแห้ง ซึ่งได้แก่ ginsenoside Rd, ginsenoside Rb1 และไนโตรจินเซนโนไซด์ K สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับหนูทดลองได้[1]
ช่วยขับล้างสารพิษหรือของเสียออกจากร่างกาย[2]
สารสำคัญที่พบในโสมซานชีอีกอย่างหนึ่งก็คือ แร่ธาตุเยอรมาเนียม (Trace Element Germanium) ซึ่งมีคุณสมบัติในการเพิ่มจำนวนออกซิเจนต่อเซลล์สมองของร่างกาย รวมทั้งเพิ่มประจุไฟฟ้าทางชีวเคมี ที่เป็นประโยชน์ต่อระบบประสาทและการทำงานของหัวใจ โดยสภาวะการขาดออกซิเจนนั้น หากมีอาการรุนแรงจะทำให้สมองตายจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ สัญญาณเตือนเมื่อสมองขาดออกซิเจน หากรู้สึกตัวอึดอัด เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียอย่างรุนแรง โดยปัจจัยที่ทำให้เซลล์ร่างกายขาดออกซิเจนนั้นมาจากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด พักผ่อนน้อย ทำงานหนัก ได้รับสารพิษ ได้รับการบาดเจ็บ เป็นต้น[3]
โสมซานชีมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยเกียวโต เมื่อปี ค.ศ.1992 ได้ทำการทดลองใช้โสมซานชีในหนูทดลอง โดยผลการทดลองพบว่าอาการของมะเร็งในปอดและผิวหนังได้ผลดีขึ้นอย่างชัดเจน และเมื่อปี ค.ศ.2006 มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงในจีน ได้ทำการสกัดโสมซานชีด้วยเอทานอล จากนั้นได้นำมาทำการศึกษาผลของสารสกัดดังกล่าวต่อมะเร็งตับในหนู ภายหลังการทดลองพบว่า สารสกัดโสมซานชีสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในตับของหนูทดลองได้ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในปี ค.ศ.2007 ของมหาวิทยาลัยถงจีในจีน ที่ได้ทำการศึกษาผลของสารพานาไซดอล ซึ่งเป็นสารซาโปนินชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในโสมซานชี โดยพบว่าสารพานาไซดอลสามารถลดและยับยั้งการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของเซลล์เนื้องอกในสมองของหนูทดลองได้[1],[2]
โสมซานชีมีสารซาโปนินซึ่งเป็นสารที่มีฟองคล้ายสบู่ มีคุณสมบัติช่วยละลายไขมันที่เกาะอยู่ตามหลอดเลือด ช่วยป้องกันการเกาะตัวของไขมันในผนังหลอดเลือด จึงช่วยป้องกันการเกิดอาการหัวใจขาดเลือด อาการเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองตีบทำให้สมองตาย ซึ่งเป็นสาเหตุของอัมพฤกษ์อัมพาต โดยจากการศึกษาเมื่อปี ค.ศ.2007 ของมหาวิทยาลัยโมนาชในออสเตรเลีย ที่ได้ทำการศึกษาผลของโสมซานชีต่อเซลล์ของผนังหลอดเลือด โดยพบว่าโสมชนิดนี้สามารถยับยั้งการสะสมไขมันที่ผนังเส้นเลือด ทำให้ภาวะผนังเส้นเลือดแดงหนาและมีความยืดหยุ่นน้อยลง ส่วนการศึกษาในปี ค.ศ.2005 มหาวิทยาลัยฟูตันในจีนได้รายงานว่าสาร ginsenoside Rg1 สามารถลดบริเวณเนื้อตายของกล้ามเนื้อหัวใจ อันเนื่องจากหัวใจขาดเลือดที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน และยังช่วยลดอาการบวมน้ำของสมองและการอุดตันของเส้นเลือดที่เลี้ยงสมองของหนูทดลองได้ ส่วนการศึกษาในปี ค.ศ.2004 ของโรงพยาบาลซีหยวนในจีน ได้ทำการศึกษาทดลองเปรียบเทียบการใช้สารซาโปนินกับยาแอสไพรินกับผู้ป่วย 120 คน ทำการศึกษาเป็นระยะเวลา 28 วัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มทดลอง กลุ่มละ 60 คน กลุ่มแรกให้กินสารซาโปนิน ส่วนกลุ่มที่สองให้กินยาแอสไพริน ผลการศึกษาพบว่าการรวมตัวของเกล็ดเลือดในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยสารซาโปนินสามารถยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือดได้ดีกว่ายาแอสไพริน โดยสารชนิดนี้จะไปช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดที่ทำให้เส้นเลือดอุดตัน มีผลทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยบำบัดอาการทางคลินิกของผู้ป่วยได้ดีกว่าแอสไพรินอีกด้วย[1]
โสมซานชีสามารถช่วยป้องกันอาการต่าง ๆ ของโรคหัวใจและโลหิตได้ โดยช่วยทำให้ระบบการหมุนเวียนของโลหิตเป็นไปได้ด้วยดี ปรับความดันโลหิต ปรับลมปราณของร่างกาย ปรับสมดุลทุกระบบในร่างกายให้เป็นปกติ ทำให้ระบบเลือดสะอาด ช่วยสร้างสารอาหารกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย และช่วยระงับการไหลของเลือดและมีเลือดออกจากกระเพาะ[2]
ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันส่วนเกินในร่างกาย และมีรายงานการวิจัยถึงกรดไตรลินโนเลอิน (Trilinolein) ที่มีอยู่ในโสมซานชี ว่าช่วยเสริมคุณสมบัติของสารซาโปนินในการกำจัดไขมันออกจากเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ[1],[2],[3]
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยช่วยควบคุมกลไกการเผาผลาญแป้งหรือน้ำตาลที่เป็นอาหารหลัก จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน รวมถึงอาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้[2]
ช่วยปรับความดันโลหิตให้คงที่[1],[2]
โสมซานชีมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน เมื่อปี ค.ศ.2002 มหาวิทยาลัยโปทีเทคนิคฮ่องกง ได้รายงานว่า ginsenoside Rg1 ในโสมซานชีมีผลต่อประสาทส่วนกลาง หัวใจ หลอดเลือดหัวใจ และมีผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ โดย ginsenoside Rg1 จะทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผลิตจากรังไข่ ส่วนการศึกษาของมหาวิทยาลัยการแพทย์จีน เมื่อปี ค.ศ.2001 ที่ได้ทำการศึกษาผลของ ginsenoside Rb2 และ ginsenoside Rc ที่มีอยู่ในโสมซานชี โดยพบว่า ginsenoside Rc มีผลทำให้ตัวอสุจิมีการเคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้นหลังการบ่มไว้นาน 1 และ 2 ชั่วโมง[1]
ช่วยทำให้ตับและปอดแข็งแรง[2]
ช่วยลดอาการปวดบวมและอักเสบ[2]
ประโยชน์ของโสมซานชี
ทุกส่วนของต้นโสมซานชี เช่น ต้น ใบ กิ่ง ก้าน ดอก เกสร เมล็ด หัว ราก สามารถนำมาใช้เป็นอาหาร เครื่องดื่ม ชา กาแฟ อาหารเสริม น้ำมันหอมระเหย ยา ยาสีฟัน ฯลฯ[2]
................
ข้อควรระวังในการใช้โสมซานชี
ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไข้หวัด มีอาการไอปนเลือด เป็นโรคไต นอนไม่หลับ ไม่ควรกินโสมซานชี[1]
ในขณะกินโสมไม่ควรดื่มกาแฟ เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตสูงและมีอาการนอนไม่หลับได้[1]
เพื่อให้ได้ผลสูงสุดเวลากินโสมจะต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างหรืออย่ากินร่วมกัน ถ้าจะให้ดีอาหารอื่นควรจะกินหลังการกินโสมอย่างน้อย 3 ชั่วโมง โดยอาหารต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่ ผลไม้หรือน้ำผลไม้ที่มีกรดสูงหรือมีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำมะนาว น้ำส้มคั้น และห้ามกินโสมร่วมกับวิตามินซี เพราะอาหารหรือสารอาหารเหล่านี้จะไปทำลายฤทธิ์ที่ควรจะได้จากโสมซานชี[1]
ควรเก็บโสมไว้ในภาชนะที่แห้งสนิทเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา[1]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น