หน้าเว็บ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม


วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

สมุนไพร ผู้ป่วยโรคไต

สมุนไพร ผู้ป่วยโรคไต
  • ต้องการฐานข้อมูลสมุนไพรที่ห้ามใช้ (หรือไม่ควรใช้) ในผู้ป่วยไตวาย (ระยะ 3b 4 5 ) เพื่อใช้แนะนำผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ของโรงพยาบาล เช่น ขอรายชื่อสมุนไพร และผลกระทบต่อผู้ป่วยไต



ผู้ป่วยโรคไต
- ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักผลไม้ที่มีสารที่มีกรดอ็อกซาริก (oxalic acid) ปริมาณสูง ซึ่งสามารถจับกับแคลเซี่ยมตกตะกอนเป็นก้อนนิ่วที่ไต ทำให้เกิด acute oxalate nephropathy ตัวอย่าง ผัก ผลไม้ ที่มีกรดอ็อกซาลิกสูง เช่น มะเฟืองเปรี้ยว มันสำปะหลัง โกฐน้ำเต้า ผักโขม
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงการรับประทานลูกเนียงดิบ (djenkol bean) ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Archidendron jiringa Nielsen หรือชื่อพ้อง Pithecellobium lobatum Benth เนื่องจากในลูกเนียงมีสาร djenkolic acid ซึ่งสามารถตกตะกอนเป็นผลึกได้ในกรณีที่มีความเข้มข้นสูงและในภาวะเป็นกรด ทำให้เกิดเป็นนิ่วอุดตันของทางเดินปัสสาวะได้ อาการพิษจากลูกเนียงมักสัมพันธ์กับการกินลูกเนียงดิบร่วมกับการดื่มน้ำน้อย ปริมาณที่ทำให้เกิดพิษนั้นมีรายงานตั้งแต่ 1-20 เมล็ด
- ผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียม (potassium) สูง ทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมเกิน (hyperkalemia) ไตต้องทำงานหนักในการขับแร่ธาตุ มีตัวอย่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังบริโภค น้ำลูกยอ (Noni juice) ทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมเกิน ทั้งนี้เพราะว่าน้ำลูกยอมีปริมาณโพแทสเซียมประมาณ 2,195.7 มิลลิกรัม รวมถึงผลไม้บางชนิดควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ทุเรียนก้านยาว ทุเรียนชะนี กล้วยหอม และส้มสายน้ำผึ้ง ซึ่งมีค่าโพแทสเซียมสูงเมื่อเปรียบเทียบกับส้มชนิดอื่น ๆ ในปริมาณที่เท่ากัน ส่วนผักที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ ผักโขม และหน่อไม้
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/141 ค่ะ

ที่มา :
บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ผักผลไม้..ที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์
ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล



โทรหาเรา 0809898770หรือไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น