กระชาย : ชะลอความแก่ และบำรุงกำลัง ชะลอแก่ บำรุงกำลัง และลดความอ้วน
สั่งซื้อกระชายแห้ง โทร+ไลน์ 0809898770
กระชาย (เหลือง) ธรรมดา ชะลอความแก่และบำรุงกำลัง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระชายเป็นไม้ล้มลุก สูงราว ๑-๒ ศอก มีลำต้นใต้ดินเรียกเหง้า มีรากทรงกระบอกปลายแหลมจำนวนมากรวมติดอยู่ที่เหง้าเป็นกระจุก เนื้อในรากละเอียด สีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะ กาบใบสีแดงเรื่อ ใบใหญ่ยาวรีปลายแหลม ดอกเป็นช่อ สีขาวอมชมพู ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า กระชายชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบดินแฉะ
ต้องการแค่ปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติ ฤดูที่เหมาะ กับการปลูกคือปลายฤดูแล้ง ในประเทศไทยมีพืชที่เรียกว่ากระชายอยู่ ๓ ชนิด คือกระชาย (เหลือง) กระชายแดง และกระชายดำ กระชายเหลืองและกระชายแดงเป็นพืชจำพวก (genus และ species) เดียวกัน แต่เป็นพืชต่างชนิดกันและมีฤทธิ์ทางยาต่างกันเล็กน้อย โดยกระชายแดงจะมีกาบใบสีแดงเข้มกว่ากระชายเหลือง ส่วนกระชายดำเป็นพืชวงศ์ขิงเช่นกันแต่อยู่ในตระกูลเปราะหอม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kaempferia parviflora Wall. ex Bak.
การใช้งานตามภูมิปัญญา
เหง้าและรากของกระชายมีรสเผ็ดร้อนขม หมอยาพื้นบ้านในประเทศไทยใช้เหง้าและรากของกระชายแก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้โรคกระเพาะ รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เมื่อมีอาการปวดข้อเข่า ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง และใช้บำบัดโรคกามตายด้านอีกด้วย
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และรายงานเกี่ยวกับฤทธิ์ของสารที่มีอยู่ในกระชาย
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า ในเหง้ากระชายมีน้ำมันหอมระเหยแต่พบในปริมาณน้อย (ราวร้อยละ ๑-๓) น้ำมันหอมระเหย ของกระชายประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด เช่น ๑.๘-cineol, camphor, d-borneol และ methyl cinnamate น้ำมันหอมระเหยที่พบส่วนน้อย ได้แก่ d-pinene, zingi-berene, zingiberone, curcumin และ zedoarin นอกจากนี้ยังพบสารอื่น ได้แก่ กลุ่มไดไฮโดรชาลโคน boesenbergin A กลุ่มฟลาโวน ฟลาวาโนน และฟลาโวนอยด์ (ได้แก่ alpinetin, pinostrobin) และ pinocembrin และกลุ่มชาลโคน (ได้แก่ ๒', ๔', ๖'-trihydroxy chalcone และ cardamonin)
ฤทธิ์แก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด
น้ำมันหอมระเหยของกระชายมีฤทธิ์บรรเทาอาการหดตัว ของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหาร
สารสกัดกระชายมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E. coli ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด นอกจากนั้นสาร cineole มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงลดอาการปวดเกร็ง
ฤทธิ์แก้โรคกระเพาะ
งานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์พบว่า สารสกัดรากกระชายและสาร pinostrobin มีฤทธิ์ต้านการเจริญของแบคทีเรียกรัมลบ ชื่อ Helicobacter pylori ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ เมื่อใช้สารสกัดจากรากกระชายรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหารในสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดดังกล่าวนอกจากจะฆ่าเชื้อสาเหตุของโรคแล้วยังมีฤทธิ์ลดการอักเสบของแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น เนื่องจากมีรายงานว่าสาร pinostrobin จากพืชตระกูลพริกไทย (Piper methylsticum) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบทั้งใน ระบบ COX-I และ COX-II จึงอาจอธิบายฤทธิ์ที่เสริมกันได้ดังกล่าว
ฤทธิ์แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า สาร pinostrobin มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคกลาก ๓ ชนิด คือ Trichophyton mentagrophytes, Microsporum gypseum และ Epidermophyton floccosum และต้านการเจริญของเชื้อ Candida albican ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการตกขาว
งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้จึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นในองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยอีกครั้งหนึ่ง
ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ
การมีอายุที่ยืนยาวน่าจะมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ในทางการแพทย์ร่างกายที่มีสุขภาพดีน่าจะไม่มีโรคหลอดเลือดแข็งตัว ระบบประสาททำงานได้อย่างดี ปราศจากโรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคมะเร็ง และตับทำงานกำจัดสารพิษได้ดี
แง่คิดทางการแพทย์ในปัจจุบันเสนอว่า การอักเสบแบบเรื้อรังเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด ได้แก่ การเกิดความไม่เสถียรของโคเลสเตอรอลที่สะสมภายในผนังหลอดเลือดทำให้เกิดอาการหัวใจวาย อาการอักเสบเรื้อรังกัดกร่อนเซลล์ประสาทในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ หรืออาจกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของเซลล์ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการแปรสภาพเป็นเซลล์มะเร็ง จึงมีการศึกษาผลจากการให้สารต้านการอักเสบ แก่ผู้ป่วยด้วยโรคเหล่านี้ ตัวอย่างได้แก่ การให้แอสไพรินซึ่งมีฤทธิ์ต้านอักเสบแก่ผู้ป่วยโรคความดันเลือดสูง และการศึกษาที่พบว่า การบริโภคน้ำมันปลาและ แอสไพรินซึ่งต่างมีฤทธิ์ลดไซโตไคน์ ที่มาจากการอักเสบจะลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ จึงอาจคาดคะเนได้ว่า เนื่องจากรากกระชายมีสาร pino-strobin และ ๕, ๗-dimethoxyflavone ที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ การบริโภคกระชายเป็นประจำอาจได้ผลคล้ายการบริโภคแอสไพริน และอาจป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากการอักเสบเรื้อรังในร่างกายได้
การทดสอบเบื้องต้นของการใช้สารสกัดจากกระชายต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลองวิจัยโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ผลการทดลองขั้นต้นเป็นที่น่าพอใจ ถือเป็นการตอกย้ำว่า ภูมิปัญญาไทยใช้ได้ผลในเชิงวิทยาศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง สาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง คือการที่เซลล์ได้รับความเสียหายจากอนุมูลอิสระ อันเกิดจากกระบวนการปกติ ภายในเซลล์ อนุมูลอิสระมีอิเล็กตรอนวงนอกขาดหายไปจึงไวต่อการทำปฏิกิริยาเคมี นอกจากนี้ การได้รับควันบุหรี่ หรือรังสี ก็อาจก่อให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระได้ ในร่างกายมนุษย์อนุมูลอิสระที่พบมากที่สุดคือ อนุมูลอิสระของออกซิเจน เมื่อทำปฏิกิริยาเคมีเพื่อเติมอิเล็กตรอนของตัวเองให้ครบจะทำความเสียหายให้กับดีเอ็นเอและโมเลกุลอื่นๆ เมื่อเวลาผ่านไปความเสียหายดังกล่าวจะซ่อมแซมไม่ได้อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งขึ้น สารต้านอนุมูลอิสระคือสารที่ทำให้อนุมูลอิสระเป็นกลางไม่ดึงอิเล็กตรอนไปจากโมเลกุลอื่นในเซลล์
รายงานการวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นพบว่า สาร alpinetin, pinostro-bin, pinocembrin และ ๒', ๔', ๖'- trihydroxy chalcone มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ฤทธิ์ดังกล่าวไม่สลายไปเมื่อได้รับความร้อน จึงมีศักยภาพในการใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็ง มีรายงานจากพืชตระกูลข่า (Al-pinia rafflesiana) ว่า pinocembrin, pinostrobim และ cardamonin มีฤทธิ์ทำให้อนุมูลอิสระเป็นกลาง จึงมีผลช่วยลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระในร่างกายได้ นอกจากนั้นแล้ว pinostro-bin ยังมีฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของมนุษย์ สาร pinostrobin ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ topoisomerase I ในกระบวนการเพิ่มจำนวนเซลล์ ดังนั้น การบริโภครากกระชายจึงอาจลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ รายงานการวิจัยจากสหรัฐอเมริกา พบว่าสารพิโนสโตรบินจากกระชายมีฤทธิ์เพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่ใช้กำจัดสารพิษในตับ
บำบัดโรคนกเขาไม่ขัน หรือโรคอีดี (Erectile Dysfunctional หรือ ED)
การแข็งตัวขององคชาตเกิดจากการมีเลือดเข้าไปคั่งอยู่ในอวัยวะดังกล่าว นับเป็นผลจากการคลายตัวของเนื้อเยื่อ ที่เรียกว่า cavernous tissues ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งระบบประสาทส่วนกลาง และปัจจัยเฉพาะในอวัยวะดังกล่าว สาเหตุและปัจจัยโน้มนำที่ก่อให้เกิดโรคนกเขาไม่ขันหรือโรคอีดี มีหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ ความชราภาพ ความดันเลือดสูง เบาหวาน โคเลสเตอรอลในเลือดสูง หลอดเลือดแข็งตัว หลอดเลือดตีบ โรคหัวใจ การสูบบุหรี่ หรือความผิดปกติที่ทำให้ระบบประสาททำงานลดลง เนื่องจากสาเหตุหรือปัจจัยโน้มนำ ดังกล่าวเป็นปัญหาในลักษณะเรื้อรัง หลังจากได้รับการแก้ไขแล้วก็อาจไม่สามารถรักษาโรคอีดีได้ ในระยะ ๑๐ ปีที่ผ่านมามีการค้นคว้าอย่างกว้างขวางเพื่อหาแนวทางการรักษาโรคอีดี การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อในส่วนเนื้อเยื่อองคชาตที่แข็งตัวได้นี้อยู่ภายใต้การควบคุมของสารเคมีที่ผลิตและหลั่งในบริเวณกล้ามเนื้อเอง และ/หรือโมเลกุลที่ผลิตมาจากเซลล์หรือเนื้อเยื่ออื่นๆ ดังนั้น อวัยวะเป้าหมายของการใช้สารเคมีบำบัดจึงแบ่งได้เป็น
๑. กลุ่มกล้ามเนื้อเรียบของเนื้อเยื่อองคชาตที่แข็งตัวได้
๒. เนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่ผลิตสารเคมีที่ควบคุมการคลายของกล้ามเนื้อดังกล่าว
กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคอีดี จำแนกจากกลไกและอวัยวะเป้าหมายของการออกฤทธิ์ได้ดังนี้ คือ
๑. ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สารต้านโอพิออยด์ (opioid receptor antagonists)
๒. ยาที่มีผลต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตสารสื่อประสาท ได้แก่ a-adrenoreceptor antagonists
๓. ยาที่มีผลต่อการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ได้แก่ สารกลุ่ม prostanoids (PGE1), ไนตริกออกไซด์ และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไนตริกออกไซด์ (ได้แก่ nitric oxide synthase)
สาร cardamonin และ alpinetin จากพืชตระกูลข่า (Alpinia henryi) มีฤทธิ์คลายผนังหลอดเลือดแดงมีเซ็นเทอริก (mesenteric arteries) ในหนูแร็ท โดยมีกลไกทั้งที่ขึ้นกับเซลล์บุผนังหลอดเลือด ซึ่งคาดว่าควบคุมโดยไนตริกออกไซด์ และโดยกลไกที่ไม่ขึ้นกับเซลล์บุผนังหลอดเลือด ซึ่งคาดว่าโดยการควบคุมการเข้าออกของแคลเซียม (Ca2+) อย่างไม่เฉพาะเจาะจง และการยับยั้งกลไกการหดตัวที่ขึ้นกับโปรตีนไคเนส-ซี
ภูมิปัญญาไทยใช้รากกระชายบำบัดอาการอีดี โดยกินทั้งราก เนื่องจากในรากกระชายมีสารที่ออกฤทธิ์คลายการหดตัวของผนังหลอดเลือดในกลุ่มยารักษาอีดี กลุ่มที่ ๓ จึงเห็นว่าเป็นการใช้งานที่ไม่ขัดกับข้อมูลจากวงการแพทย์ และเนื่องจากกระชายเป็นพืชอาหารของไทยไม่พบรายงานความเป็นพิษเมื่อบริโภคในระดับที่เป็นอาหาร
ฤทธิ์ต้านจุลชีพ
งานวิจัยจากประเทศกานาพบว่า สาร pinostrobin จากรากและใบของต้น Cajanus cajan มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ในประเทศไทยงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่า สารสกัดคลอโรฟอร์มและเมทานอลจากรากกระชายมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อ Giardia intestinalis ซึ่งเป็นพยาธิเซลล์เดียวในลำไส้ก่อให้เกิดภาวะท้องเสีย ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากกับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง งานวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่า pinostrobin, panduratin A, pinocembrin และ alpinetin มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียหลายชนิด
การใช้งาน
กระชายแก่มี pinostrobin เป็นสองเท่าของกระชายอ่อน ถามคนขายเลือกเอารากที่แก่ กระชายจากชุมพรและนครปฐมมีสาร pinostrobin มากประมาณร้อยละ ๐.๑ ของน้ำหนักแห้ง รากอ้วนๆ อวบน้ำมีสารสำคัญน้อยไม่ควรใช้
บรรเทาอาการจุกเสียด นำเหง้าแห้งประมาณครึ่งกำมือต้มเอาน้ำดื่ม
บำบัดโรคกระเพาะ กินรากสดแง่งเท่านิ้วก้อยไม่ต้องปอกเปลือก วันละ ๓ มื้อก่อนอาหาร ๑๕ นาทีสัก ๓ วัน ถ้ากินได้ให้กินจนครบ ๒ สัปดาห์ ถ้าเผ็ดร้อนเกินไปหลังวันที่ ๓ ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือกขนาดเท่ากับ ๒ ข้อนิ้วก้อยจนครบ ๒ สัปดาห์
บรรเทาอาการแผลในปาก ปั่นรากกระชายทั้งเปลือก ๒ แง่งกับน้ำสะอาด ๑ แก้วในโถปั่นน้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้กลั้วปากวันละ ๓ เวลาจนกว่าแผลจะหาย ถ้าเฝื่อนเกินให้เติมน้ำสุกได้อีก ส่วนที่ยังไม่ได้แบ่งใช้เก็บในตู้เย็นได้ ๑ วัน
แก้ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชายที่ล้างสะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ใส่โถปั่นพอหยาบ ใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟเล็ก (เหมือนที่เขาใช้คนกาแฟโบราณ) วันละ ๓ มื้อก่อนอาหาร ๑๕ นาที สัก ๗ วัน
ฤทธิ์แก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า คันศีรษะจาก เชื้อรา นำรากกระชายทั้งเปลือกมาล้างผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้วบดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช (อาจใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้) มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชาย ใช้น้ำมัน ๓ เท่าของปริมาณกระชาย หุง (คนไปคนมาอย่าให้ไหม้) ไฟอ่อนๆ ไปสักพักราว ๑๕-๒๐ นาที กรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชาใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน
แก้คันศีรษะจากเชื้อรา ให้เอาน้ำมันดังกล่าวไปเข้าสูตรทำแชมพูสระผมสูตรน้ำมันจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้แทนน้ำมันมะพร้าวในสูตร ประหยัดเงินและได้ภูมิใจกับภูมิปัญญาไทย หรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผม ให้เพิ่มปริมาณน้ำมันพืชอีก ๑ เท่าตัว โกรกด้วยน้ำมันกระชายสัก ๕ นาที นวดให้เข้าหนังศีรษะ แล้วจึงสระผมล้างออก
ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ ผงกระชายทั้งเปลือกบดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ ๓ ลูกก่อนเข้านอน ตำรับนี้เคยมีผู้รายงานว่าใช้ลดน้ำตาลในเลือดได้ หรือใช้กระชายตากแห้ง บดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ ๒๕๐ มิลลิกรัม กินวันละ ๑ แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ ๒ แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ ๒
รองศาสตราจารย์ซึ่งนักเรียนทุนออสเตรเลีย อายุ ๕๔ กล่าวว่า "อดีตผมกินเหล้า สูบบุหรี่จัด มันก็เลยเสื่อมๆ ไป ปกติแล้วถึงผมอยากมันก็ไม่เกิดอะไร ขึ้น พอกินไปสักวันที่ ๓-๔ พออยากแล้วมันก็ขึ้นมาเอง ภรรยาเลยไม่ค่อยได้ นอนครับ"
ฤทธิ์แก้โรคนกเขาไม่ขัน (โรคอีดี)
วิธีที่ ๑ ใช้ตามตำราแก้ฝ้าขาวในปาก อาการจะเริ่มเปลี่ยนแปลงหลังวันที่ ๓-๔
วิธีที่ ๒ รากกระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ ๒๕๐ มิลลิกรัม กินวันละ ๑ แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ ๒ แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ ๒ ถ้าไม่เห็นผลกินอีก ๒ แคปซูลก่อนอาหารเย็น หรือกลับไปใช้วิธีที่ ๑ จะเริ่มกินบอกภรรยาด้วย ถ้าได้ผลแล้วภรรยาบ่นให้ภรรยากินด้วยเหมือนๆ กัน
วิธีที่ ๓ เพิ่มกระชายในอาหาร ทำเป็นกับข้าวธรรมดาก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นต้มยำ (ทุบแบบหัวข่า) แกงเผ็ด (หั่นเป็นฝอย) กินทุกวัน พร้อมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เห็นผลในหนึ่งเดือน
ฤทธิ์บำรุงหัวใจ
นำเหง้าและรากกระชายปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง ใช้ผงแห้ง ๑ ช้อนชาชงน้ำดื่มครึ่งถ้วยชา คนโบราณบอกว่าลางเนื้อชอบลางยา ให้สูตรกระชายไปหลายสูตรแล้ว ถ้าใครถูกกับสูตรไหนกินไปเลย หรือจะเพิ่มการกินขนมจีนน้ำยาหรือแกงป่าใส่กระชายก็ได้ ชนิดที่ไม่ใส่กะทิก็ดี ไขมันจะได้ไม่พอกพูน
ข้อมูลสื่อ
ชื่อไฟล์: 315-007
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 315
เดือน/ปี: กรกฎาคม 2548
คอลัมน์: สมุนไพรน่ารู้
นักเขียนหมอชาวบ้าน: รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ
สั่งซื้อกระชายแห้ง โทร+ไลน์ 0809898770
กระชาย (เหลือง) ธรรมดา ชะลอความแก่และบำรุงกำลัง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระชายเป็นไม้ล้มลุก สูงราว ๑-๒ ศอก มีลำต้นใต้ดินเรียกเหง้า มีรากทรงกระบอกปลายแหลมจำนวนมากรวมติดอยู่ที่เหง้าเป็นกระจุก เนื้อในรากละเอียด สีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะ กาบใบสีแดงเรื่อ ใบใหญ่ยาวรีปลายแหลม ดอกเป็นช่อ สีขาวอมชมพู ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า กระชายชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบดินแฉะ
ต้องการแค่ปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติ ฤดูที่เหมาะ กับการปลูกคือปลายฤดูแล้ง ในประเทศไทยมีพืชที่เรียกว่ากระชายอยู่ ๓ ชนิด คือกระชาย (เหลือง) กระชายแดง และกระชายดำ กระชายเหลืองและกระชายแดงเป็นพืชจำพวก (genus และ species) เดียวกัน แต่เป็นพืชต่างชนิดกันและมีฤทธิ์ทางยาต่างกันเล็กน้อย โดยกระชายแดงจะมีกาบใบสีแดงเข้มกว่ากระชายเหลือง ส่วนกระชายดำเป็นพืชวงศ์ขิงเช่นกันแต่อยู่ในตระกูลเปราะหอม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kaempferia parviflora Wall. ex Bak.
การใช้งานตามภูมิปัญญา
เหง้าและรากของกระชายมีรสเผ็ดร้อนขม หมอยาพื้นบ้านในประเทศไทยใช้เหง้าและรากของกระชายแก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้โรคกระเพาะ รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เมื่อมีอาการปวดข้อเข่า ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง และใช้บำบัดโรคกามตายด้านอีกด้วย
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และรายงานเกี่ยวกับฤทธิ์ของสารที่มีอยู่ในกระชาย
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า ในเหง้ากระชายมีน้ำมันหอมระเหยแต่พบในปริมาณน้อย (ราวร้อยละ ๑-๓) น้ำมันหอมระเหย ของกระชายประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด เช่น ๑.๘-cineol, camphor, d-borneol และ methyl cinnamate น้ำมันหอมระเหยที่พบส่วนน้อย ได้แก่ d-pinene, zingi-berene, zingiberone, curcumin และ zedoarin นอกจากนี้ยังพบสารอื่น ได้แก่ กลุ่มไดไฮโดรชาลโคน boesenbergin A กลุ่มฟลาโวน ฟลาวาโนน และฟลาโวนอยด์ (ได้แก่ alpinetin, pinostrobin) และ pinocembrin และกลุ่มชาลโคน (ได้แก่ ๒', ๔', ๖'-trihydroxy chalcone และ cardamonin)
ฤทธิ์แก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด
น้ำมันหอมระเหยของกระชายมีฤทธิ์บรรเทาอาการหดตัว ของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหาร
สารสกัดกระชายมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E. coli ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด นอกจากนั้นสาร cineole มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงลดอาการปวดเกร็ง
ฤทธิ์แก้โรคกระเพาะ
งานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์พบว่า สารสกัดรากกระชายและสาร pinostrobin มีฤทธิ์ต้านการเจริญของแบคทีเรียกรัมลบ ชื่อ Helicobacter pylori ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ เมื่อใช้สารสกัดจากรากกระชายรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหารในสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดดังกล่าวนอกจากจะฆ่าเชื้อสาเหตุของโรคแล้วยังมีฤทธิ์ลดการอักเสบของแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น เนื่องจากมีรายงานว่าสาร pinostrobin จากพืชตระกูลพริกไทย (Piper methylsticum) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบทั้งใน ระบบ COX-I และ COX-II จึงอาจอธิบายฤทธิ์ที่เสริมกันได้ดังกล่าว
ฤทธิ์แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า สาร pinostrobin มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคกลาก ๓ ชนิด คือ Trichophyton mentagrophytes, Microsporum gypseum และ Epidermophyton floccosum และต้านการเจริญของเชื้อ Candida albican ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการตกขาว
งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้จึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นในองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยอีกครั้งหนึ่ง
ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ
การมีอายุที่ยืนยาวน่าจะมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ในทางการแพทย์ร่างกายที่มีสุขภาพดีน่าจะไม่มีโรคหลอดเลือดแข็งตัว ระบบประสาททำงานได้อย่างดี ปราศจากโรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคมะเร็ง และตับทำงานกำจัดสารพิษได้ดี
แง่คิดทางการแพทย์ในปัจจุบันเสนอว่า การอักเสบแบบเรื้อรังเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด ได้แก่ การเกิดความไม่เสถียรของโคเลสเตอรอลที่สะสมภายในผนังหลอดเลือดทำให้เกิดอาการหัวใจวาย อาการอักเสบเรื้อรังกัดกร่อนเซลล์ประสาทในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ หรืออาจกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของเซลล์ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการแปรสภาพเป็นเซลล์มะเร็ง จึงมีการศึกษาผลจากการให้สารต้านการอักเสบ แก่ผู้ป่วยด้วยโรคเหล่านี้ ตัวอย่างได้แก่ การให้แอสไพรินซึ่งมีฤทธิ์ต้านอักเสบแก่ผู้ป่วยโรคความดันเลือดสูง และการศึกษาที่พบว่า การบริโภคน้ำมันปลาและ แอสไพรินซึ่งต่างมีฤทธิ์ลดไซโตไคน์ ที่มาจากการอักเสบจะลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ จึงอาจคาดคะเนได้ว่า เนื่องจากรากกระชายมีสาร pino-strobin และ ๕, ๗-dimethoxyflavone ที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ การบริโภคกระชายเป็นประจำอาจได้ผลคล้ายการบริโภคแอสไพริน และอาจป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากการอักเสบเรื้อรังในร่างกายได้
การทดสอบเบื้องต้นของการใช้สารสกัดจากกระชายต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลองวิจัยโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ผลการทดลองขั้นต้นเป็นที่น่าพอใจ ถือเป็นการตอกย้ำว่า ภูมิปัญญาไทยใช้ได้ผลในเชิงวิทยาศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง สาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง คือการที่เซลล์ได้รับความเสียหายจากอนุมูลอิสระ อันเกิดจากกระบวนการปกติ ภายในเซลล์ อนุมูลอิสระมีอิเล็กตรอนวงนอกขาดหายไปจึงไวต่อการทำปฏิกิริยาเคมี นอกจากนี้ การได้รับควันบุหรี่ หรือรังสี ก็อาจก่อให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระได้ ในร่างกายมนุษย์อนุมูลอิสระที่พบมากที่สุดคือ อนุมูลอิสระของออกซิเจน เมื่อทำปฏิกิริยาเคมีเพื่อเติมอิเล็กตรอนของตัวเองให้ครบจะทำความเสียหายให้กับดีเอ็นเอและโมเลกุลอื่นๆ เมื่อเวลาผ่านไปความเสียหายดังกล่าวจะซ่อมแซมไม่ได้อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งขึ้น สารต้านอนุมูลอิสระคือสารที่ทำให้อนุมูลอิสระเป็นกลางไม่ดึงอิเล็กตรอนไปจากโมเลกุลอื่นในเซลล์
รายงานการวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นพบว่า สาร alpinetin, pinostro-bin, pinocembrin และ ๒', ๔', ๖'- trihydroxy chalcone มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ฤทธิ์ดังกล่าวไม่สลายไปเมื่อได้รับความร้อน จึงมีศักยภาพในการใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็ง มีรายงานจากพืชตระกูลข่า (Al-pinia rafflesiana) ว่า pinocembrin, pinostrobim และ cardamonin มีฤทธิ์ทำให้อนุมูลอิสระเป็นกลาง จึงมีผลช่วยลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระในร่างกายได้ นอกจากนั้นแล้ว pinostro-bin ยังมีฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของมนุษย์ สาร pinostrobin ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ topoisomerase I ในกระบวนการเพิ่มจำนวนเซลล์ ดังนั้น การบริโภครากกระชายจึงอาจลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ รายงานการวิจัยจากสหรัฐอเมริกา พบว่าสารพิโนสโตรบินจากกระชายมีฤทธิ์เพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่ใช้กำจัดสารพิษในตับ
บำบัดโรคนกเขาไม่ขัน หรือโรคอีดี (Erectile Dysfunctional หรือ ED)
การแข็งตัวขององคชาตเกิดจากการมีเลือดเข้าไปคั่งอยู่ในอวัยวะดังกล่าว นับเป็นผลจากการคลายตัวของเนื้อเยื่อ ที่เรียกว่า cavernous tissues ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งระบบประสาทส่วนกลาง และปัจจัยเฉพาะในอวัยวะดังกล่าว สาเหตุและปัจจัยโน้มนำที่ก่อให้เกิดโรคนกเขาไม่ขันหรือโรคอีดี มีหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ ความชราภาพ ความดันเลือดสูง เบาหวาน โคเลสเตอรอลในเลือดสูง หลอดเลือดแข็งตัว หลอดเลือดตีบ โรคหัวใจ การสูบบุหรี่ หรือความผิดปกติที่ทำให้ระบบประสาททำงานลดลง เนื่องจากสาเหตุหรือปัจจัยโน้มนำ ดังกล่าวเป็นปัญหาในลักษณะเรื้อรัง หลังจากได้รับการแก้ไขแล้วก็อาจไม่สามารถรักษาโรคอีดีได้ ในระยะ ๑๐ ปีที่ผ่านมามีการค้นคว้าอย่างกว้างขวางเพื่อหาแนวทางการรักษาโรคอีดี การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อในส่วนเนื้อเยื่อองคชาตที่แข็งตัวได้นี้อยู่ภายใต้การควบคุมของสารเคมีที่ผลิตและหลั่งในบริเวณกล้ามเนื้อเอง และ/หรือโมเลกุลที่ผลิตมาจากเซลล์หรือเนื้อเยื่ออื่นๆ ดังนั้น อวัยวะเป้าหมายของการใช้สารเคมีบำบัดจึงแบ่งได้เป็น
๑. กลุ่มกล้ามเนื้อเรียบของเนื้อเยื่อองคชาตที่แข็งตัวได้
๒. เนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่ผลิตสารเคมีที่ควบคุมการคลายของกล้ามเนื้อดังกล่าว
กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคอีดี จำแนกจากกลไกและอวัยวะเป้าหมายของการออกฤทธิ์ได้ดังนี้ คือ
๑. ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สารต้านโอพิออยด์ (opioid receptor antagonists)
๒. ยาที่มีผลต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตสารสื่อประสาท ได้แก่ a-adrenoreceptor antagonists
๓. ยาที่มีผลต่อการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ได้แก่ สารกลุ่ม prostanoids (PGE1), ไนตริกออกไซด์ และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไนตริกออกไซด์ (ได้แก่ nitric oxide synthase)
สาร cardamonin และ alpinetin จากพืชตระกูลข่า (Alpinia henryi) มีฤทธิ์คลายผนังหลอดเลือดแดงมีเซ็นเทอริก (mesenteric arteries) ในหนูแร็ท โดยมีกลไกทั้งที่ขึ้นกับเซลล์บุผนังหลอดเลือด ซึ่งคาดว่าควบคุมโดยไนตริกออกไซด์ และโดยกลไกที่ไม่ขึ้นกับเซลล์บุผนังหลอดเลือด ซึ่งคาดว่าโดยการควบคุมการเข้าออกของแคลเซียม (Ca2+) อย่างไม่เฉพาะเจาะจง และการยับยั้งกลไกการหดตัวที่ขึ้นกับโปรตีนไคเนส-ซี
ภูมิปัญญาไทยใช้รากกระชายบำบัดอาการอีดี โดยกินทั้งราก เนื่องจากในรากกระชายมีสารที่ออกฤทธิ์คลายการหดตัวของผนังหลอดเลือดในกลุ่มยารักษาอีดี กลุ่มที่ ๓ จึงเห็นว่าเป็นการใช้งานที่ไม่ขัดกับข้อมูลจากวงการแพทย์ และเนื่องจากกระชายเป็นพืชอาหารของไทยไม่พบรายงานความเป็นพิษเมื่อบริโภคในระดับที่เป็นอาหาร
ฤทธิ์ต้านจุลชีพ
งานวิจัยจากประเทศกานาพบว่า สาร pinostrobin จากรากและใบของต้น Cajanus cajan มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ในประเทศไทยงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่า สารสกัดคลอโรฟอร์มและเมทานอลจากรากกระชายมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อ Giardia intestinalis ซึ่งเป็นพยาธิเซลล์เดียวในลำไส้ก่อให้เกิดภาวะท้องเสีย ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากกับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง งานวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่า pinostrobin, panduratin A, pinocembrin และ alpinetin มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียหลายชนิด
การใช้งาน
กระชายแก่มี pinostrobin เป็นสองเท่าของกระชายอ่อน ถามคนขายเลือกเอารากที่แก่ กระชายจากชุมพรและนครปฐมมีสาร pinostrobin มากประมาณร้อยละ ๐.๑ ของน้ำหนักแห้ง รากอ้วนๆ อวบน้ำมีสารสำคัญน้อยไม่ควรใช้
บรรเทาอาการจุกเสียด นำเหง้าแห้งประมาณครึ่งกำมือต้มเอาน้ำดื่ม
บำบัดโรคกระเพาะ กินรากสดแง่งเท่านิ้วก้อยไม่ต้องปอกเปลือก วันละ ๓ มื้อก่อนอาหาร ๑๕ นาทีสัก ๓ วัน ถ้ากินได้ให้กินจนครบ ๒ สัปดาห์ ถ้าเผ็ดร้อนเกินไปหลังวันที่ ๓ ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือกขนาดเท่ากับ ๒ ข้อนิ้วก้อยจนครบ ๒ สัปดาห์
บรรเทาอาการแผลในปาก ปั่นรากกระชายทั้งเปลือก ๒ แง่งกับน้ำสะอาด ๑ แก้วในโถปั่นน้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้กลั้วปากวันละ ๓ เวลาจนกว่าแผลจะหาย ถ้าเฝื่อนเกินให้เติมน้ำสุกได้อีก ส่วนที่ยังไม่ได้แบ่งใช้เก็บในตู้เย็นได้ ๑ วัน
แก้ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชายที่ล้างสะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ใส่โถปั่นพอหยาบ ใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟเล็ก (เหมือนที่เขาใช้คนกาแฟโบราณ) วันละ ๓ มื้อก่อนอาหาร ๑๕ นาที สัก ๗ วัน
ฤทธิ์แก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า คันศีรษะจาก เชื้อรา นำรากกระชายทั้งเปลือกมาล้างผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้วบดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช (อาจใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้) มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชาย ใช้น้ำมัน ๓ เท่าของปริมาณกระชาย หุง (คนไปคนมาอย่าให้ไหม้) ไฟอ่อนๆ ไปสักพักราว ๑๕-๒๐ นาที กรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชาใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน
แก้คันศีรษะจากเชื้อรา ให้เอาน้ำมันดังกล่าวไปเข้าสูตรทำแชมพูสระผมสูตรน้ำมันจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้แทนน้ำมันมะพร้าวในสูตร ประหยัดเงินและได้ภูมิใจกับภูมิปัญญาไทย หรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผม ให้เพิ่มปริมาณน้ำมันพืชอีก ๑ เท่าตัว โกรกด้วยน้ำมันกระชายสัก ๕ นาที นวดให้เข้าหนังศีรษะ แล้วจึงสระผมล้างออก
ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ ผงกระชายทั้งเปลือกบดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ ๓ ลูกก่อนเข้านอน ตำรับนี้เคยมีผู้รายงานว่าใช้ลดน้ำตาลในเลือดได้ หรือใช้กระชายตากแห้ง บดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ ๒๕๐ มิลลิกรัม กินวันละ ๑ แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ ๒ แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ ๒
รองศาสตราจารย์ซึ่งนักเรียนทุนออสเตรเลีย อายุ ๕๔ กล่าวว่า "อดีตผมกินเหล้า สูบบุหรี่จัด มันก็เลยเสื่อมๆ ไป ปกติแล้วถึงผมอยากมันก็ไม่เกิดอะไร ขึ้น พอกินไปสักวันที่ ๓-๔ พออยากแล้วมันก็ขึ้นมาเอง ภรรยาเลยไม่ค่อยได้ นอนครับ"
ฤทธิ์แก้โรคนกเขาไม่ขัน (โรคอีดี)
วิธีที่ ๑ ใช้ตามตำราแก้ฝ้าขาวในปาก อาการจะเริ่มเปลี่ยนแปลงหลังวันที่ ๓-๔
วิธีที่ ๒ รากกระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ ๒๕๐ มิลลิกรัม กินวันละ ๑ แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ ๒ แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ ๒ ถ้าไม่เห็นผลกินอีก ๒ แคปซูลก่อนอาหารเย็น หรือกลับไปใช้วิธีที่ ๑ จะเริ่มกินบอกภรรยาด้วย ถ้าได้ผลแล้วภรรยาบ่นให้ภรรยากินด้วยเหมือนๆ กัน
วิธีที่ ๓ เพิ่มกระชายในอาหาร ทำเป็นกับข้าวธรรมดาก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นต้มยำ (ทุบแบบหัวข่า) แกงเผ็ด (หั่นเป็นฝอย) กินทุกวัน พร้อมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เห็นผลในหนึ่งเดือน
ฤทธิ์บำรุงหัวใจ
นำเหง้าและรากกระชายปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง ใช้ผงแห้ง ๑ ช้อนชาชงน้ำดื่มครึ่งถ้วยชา คนโบราณบอกว่าลางเนื้อชอบลางยา ให้สูตรกระชายไปหลายสูตรแล้ว ถ้าใครถูกกับสูตรไหนกินไปเลย หรือจะเพิ่มการกินขนมจีนน้ำยาหรือแกงป่าใส่กระชายก็ได้ ชนิดที่ไม่ใส่กะทิก็ดี ไขมันจะได้ไม่พอกพูน
ข้อมูลสื่อ
ชื่อไฟล์: 315-007
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 315
เดือน/ปี: กรกฎาคม 2548
คอลัมน์: สมุนไพรน่ารู้
นักเขียนหมอชาวบ้าน: รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น