ริดสีดวงมีอาการหลายระยะ และมีแนวทางการรักษาหลายวิธี เช่น
การให้ยากิน ยาเหน็บทวาร หรือฉีดยาเข้าไปในตำแหน่งที่เลือดออก การยิงยางรัดโคนหรือหัวของริดสีดวงที่โผล่ออกมา เพื่อจะทำให้หัวริดสีดวงนั้นฝ่อและหลุดออกไปได้เอง และบางรายอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด สำหรับการใช้สมุนไพร เพชรสังฆาต ถูกบรรจุอยู่ในสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ กลุ่มยาบรรเทาริดสีดวงทวารหนัก มี 2 ตำรับ คือ
- ตำรับที่ 1 แคปซูลผงยา 100 กรัม (ประกอบด้วยเถาเพชรสังฆาต 70 กรัม รากอัคคีทวาร 20 กรัม โกศน้ำเต้า 10 กรัม) รับประทานครั้งละ 1.2 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที
- ตำรับที่ 2 แคปซูลผงยา 85 กรัม (ประกอบด้วยเถาเพชรสังฆาต 50 กรัม กะเม็ง 15 กรัม โกศน้ำเต้า 10 กรัม หัวกระชาย 10 กรัม) รับประทานครั้งละ 500 มล.-1 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที
ทั้งสองตำรับแนะนำให้รับประทานเพื่อรักษาอาการเท่านั้น เมื่ออาการดีขึ้นแล้วให้หยุดใช้ อย่างไรก็ตามการรักษาริดสีดวงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือปรึกษาด้านการใช้ยากับเภสัชกรตามร้านขายยา รวมทั้งการดูแลตัวเองในเรื่องการขับถ่ายให้เป็นปกติ
การให้ยากิน ยาเหน็บทวาร หรือฉีดยาเข้าไปในตำแหน่งที่เลือดออก การยิงยางรัดโคนหรือหัวของริดสีดวงที่โผล่ออกมา เพื่อจะทำให้หัวริดสีดวงนั้นฝ่อและหลุดออกไปได้เอง และบางรายอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด สำหรับการใช้สมุนไพร เพชรสังฆาต ถูกบรรจุอยู่ในสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ กลุ่มยาบรรเทาริดสีดวงทวารหนัก มี 2 ตำรับ คือ
- ตำรับที่ 1 แคปซูลผงยา 100 กรัม (ประกอบด้วยเถาเพชรสังฆาต 70 กรัม รากอัคคีทวาร 20 กรัม โกศน้ำเต้า 10 กรัม) รับประทานครั้งละ 1.2 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที
- ตำรับที่ 2 แคปซูลผงยา 85 กรัม (ประกอบด้วยเถาเพชรสังฆาต 50 กรัม กะเม็ง 15 กรัม โกศน้ำเต้า 10 กรัม หัวกระชาย 10 กรัม) รับประทานครั้งละ 500 มล.-1 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที
ทั้งสองตำรับแนะนำให้รับประทานเพื่อรักษาอาการเท่านั้น เมื่ออาการดีขึ้นแล้วให้หยุดใช้ อย่างไรก็ตามการรักษาริดสีดวงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือปรึกษาด้านการใช้ยากับเภสัชกรตามร้านขายยา รวมทั้งการดูแลตัวเองในเรื่องการขับถ่ายให้เป็นปกติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น